Hypertension Update
การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง มีความสำคัญต่อการวินิจฉัย 3063 View(s)
การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง มีความสำคัญต่อการวินิจฉัย เพื่อยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โดยการจำแนกระดับความดันโลหิต (มิลลิเมตรปรอท) จำแนกตามความรุนแรงในผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้ดังนี้

ความดันซิสโตลิก SBP (มิลลิเมตรปรอท) / ความดันไดแอสโตลิก DBP (มิลลิเมตรปรอท)
1.ความดันโลหิต ระดับ เหมาะสม (optimal) < 120 และ < 80
2.ความดันโลหิต ปกติ (normal) 120-129 และ/หรือ 80-84
3.ความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ยังไม่เป็นโรคความดันโหลิตสูง (high normal) 130-139 และ/หรือ 85-89
4.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 1 (Grade 1 HT: mild) 140-159 และ/หรือ 90-99
5.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 2 (Grade 2 HT: moderate) 160-179 และ/หรือ 100-109
6.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 3 (Grade 3 HT: severe) >/= 180 และ/หรือ >/= 100
7.ความดันโหลิตสูง ชนิดสูงเฉพาะความดันซิสโตลิก >/= 140 และ < 90

หากใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน เพื่อยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) การวัดความดันโลหิต กระทำในท่านั่ง โดยวัด 2 ครั้ง ห่างกัน 1 นาที
(2) ความถี่ในการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง ควรวัด 2 ครั้งต่อวัน ในตอนเช้า และตอนเย็น อย่างน้อย
4 ถึง 7 วันติดต่อกัน ก่อนพบแพทย์ เพื่อให้ใช้ในการตัดสินใจให้การรักษา
(3) ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ จะต่ำกว่าค่าที่วัดได้จาก Meucury sphygmomanometer ประมาณ 5 มิลลิเมตรปรอท คือ ความดันโลหิตที่่วัดได้ในเวลากลางวัน จากเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ จะถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง เมื่อความดันตัวบน (ซิสโตลิก)
มากกว่าหรือเท่ากับ 135 มิลลิเมตรปรอท และหรือ ความดันตัวล่าง (ดัยแอสโตลิก) มากกว่าหรือเท่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอท

ความดันโลหิตสูง โดยหลักใหญ่ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ ซึ่งไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน (Essential หรือ Primary Hypertension) ได้แก่ ความดันโลหิตสูงที่พบทั่วไป ในคนสูงอายุ อายุที่เริ่มเป็นโรค มักจะอยู่ในช่วงอายุ 40 ถึง 50 ปี , และอีกประเภท ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (Secondary Hypertension) เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มีสาเหตุจากโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดไต โรคระบบต่อมหมวกไต เป็นต้น ซึ่งอายุที่เริ่มเป็นโรค มักเกิดก่อน 30 ปี หรือเกิดหลัง 50 ปี