Hypertension Update
ภรรยาผมความดันสูงประมาณ 180/85 ถึง 200/100 กินยาอยู่ ตรวจเช็คความดันทุกวันเช้า-เย็น ก็ยังไม่ลง 2203 View(s)
ตอบคำถาม จากคุณ nattawat 02-12-2557

ภรรยาผมความดันสูงประมาณ 180/85 ถึง 200/100 ไปพบหมอด้านหัวใจและหลอดเลือดที่ รพ. ศิริราช หาให้ ยา Nalopril 10mg.
มาทานวันละเม็ด ผมตรวจเช็คความดันทุกวันเช้า-เย็น ก็ยังไม่ลง 1 สัปดาห์ ก็เลยไปพบหมออีกคุณหมอก็เปลี่ยนยาตัวใหม่ให้ Losartan(Tanzaril ) 50 mg.
ทานมา 2 สัปดาห์แล้ววั ดความดันตลอดเช้า-เย็น ก็ยังไม่ลง คนไข้มีอาการปวดตึงที่หน้าผากและขมับตลอดเวลา ขอความกรุณาคุณหมอช่วยวินิจฉัยผมจะทำอย่างไรดีครับ

ตอบคำถาม
ตามแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2555 โดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ระดับความดันโลหิต 180/85 ถึง 200/100 มิลลิเมตรปรอท หากเป็นการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล นั้นถูกจัดกลุ่มความดันโลหิตสูง ระดับรุนแรง (grade 3 severe hypertension) โดยมีเงือนไขว่า ต้องวัดความดันโลหิต ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่ถูกต้อง เหมาะสม

อาจต้องพิจารณาข้อมูล ของผู้ป่วยอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ให้มา เช่น อายุ โรคประจำตัว โรคร่วมอื่นๆ ประวัติการใช้ยาอื่นๆ เป็นต้น

สำหรับ คำแนะนำในการดูแลรักษา ได้แก่
1. พิจารณาตรวจหาหลักฐานว่ามีอวัยวะอื่น ที่มีผลกระทบจากความดันโลหิตสูง (target organ damage) ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น หัวใจโต (left ventricular hypertrophy)
, ตรวจตา (hypertensive retinopathy) , ตรวจปัสสาวะ (micro or macro-albuminuria) เป็นต้น

2. พิจารณาตรวจหาโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascuar disease) เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น

3. พิจารณาตรวจหา สิ่งที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ (secondary hypertension)

4. ด้านการรักษาควรใช้วิธีแบบไม่ใช้ยา ร่วมไปกับการรักษาด้วยยา ควบคู่กันไป
สำหรับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง แบบไม่ใช้ยา (เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) ได้แก่
การลดน้ำหนัก
การใช้อาหารชนิด DASH (Dietary Approach to Stop Hypertension diet)
การจำกัดเกลือในอาหาร
การออกกำลังกาย
การลดการดื่มแอลกอฮอล์

สำหรับการใช้ยา พิจารณาเลือกยา ใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ Thiazide-type diuretic , Calcium channel blockers (CCB), Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEIs) , Angiotensin II receptor blocker (ARBs) โดยพิจารณาจากภาวะอื่นๆ ที่ผู้ป่วยมี หรือโรคร่วมเป็นองค์ประกอบ

เป้าหมายของการรักษาอยู่ที่ระดับความดันโลหิต น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ในผู้ป่วยทั่วไป

โดยหากมีความดันโลหิตสูงตั้นต้นในระดับรุนแรง อาจพิจารณายา 2 กลุ่มสำหรับใช้ในการรักษา