Hypertension Update
ขอทราบรายการอาหารทุกประเภทสำหรับผู้ป่วยความดันสูง 2238 View(s)
ตอบคำถาม 12-06-2557
ขอทราบรายการอาหารทุกประเภทสำหรับผู้ป่วยความดันสูง เช่นอาหารจานด่วน..ไม่ควรใส่ผงชูรส
น้ำปลา.. ข้าวผัด ผัดผงกะหรี่ ผัดพริกแกง กะเพรา สุกี้ ผัดขี้เมา ผัดซีอิ๊ว ราดหน้า. โจ๊ก เครื่องในสัตว์ แบบไหนทานได้คะ
อาหารรสเผ็ดทานได้มั็ย ทานนมพร่องมันเนย..น้ำเต้าหู้..น้ำขิง..(พวกไม่ใช้วัตถุกันเสีย)เครื่องต่างๆที่ใส่ในน้ำเต้าหู้น่าจะทานได้มั๊ย)
อาหารทะเลทานได้มั๊ย..ไข่ทานได้มั็ย..ผลไม้..อะไรที่ทานได้บ้าง เช่นสัม กล้วยน้ำว้าแคนตาลูป(ฝรั่ง มังคุด ลำไย ทุเรียน ทานได้มั็ย)
---------
ตอบ :
ผลเสียของการกินเค็ม และประโยชน์ของการลดการกินเค็ม
1.การกินเค็มส่งเสริมให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และการลดการกินเค็ม มีผลช่วยลดระดับความดันโลหิตลง
ประสิทธิภาพของการลดความดันโลหิตนี้ จะยิ่งมากขึ้น ถ้าปฏิบัติร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่นๆ ด้วย
เช่น การลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่อ้วน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การหยุดสูบบุหรี่ เป็นต้น
2.การกินเค็มมีผลทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหน้าขึ้น โดยอาจไม่สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิต
3.การกินเค็มมีผลทำให้อัตราการกรองของเสียผ่านไตเพื่อขับถ่ายออกทางปัสสาวะมากขึ้น หรือ ทำให้ไตทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ยังทีผลทำให้อัตราการขับโปรตีน ที่มีชื่อว่า อัลบูมิน ออกทางปัสสาวะมากขึ้น

หลักการที่สำคัญ ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง
ผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูงจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานโซเดียมไม่เกิน 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน

เกลือโซเดียม อยู่ในอาหารประเภทใดบ้าง
- อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง มักมีรสชาติเค็ม แต่ก็มีอาหารที่มีโซเดียมสูง แต่ไม่เค็ม ซึ่งเรียกว่า มีโซเดียมแฝงทำให้เรารับประทานโซเดียมโดยไม่รู้ตัว ดังน้ันเราจึงควรทราบปริมาณของโซเดียมที่มีอยู่ในอาหารแต่ละชนิด เพื่อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง

จำเแนกตามประเภทอาหาร ได้แก่
- อาหารธรรมชาติ มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยแทบทุกชนิด โดยทั่วไปอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่
มักจะมีโซเดียมมากกว่าผักและผลไม้
- เครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ มักมีโซเดียมอยู่เป็นปริมาณมาก
- อาหารแปรรูป ได้แก่ อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง มักมีโซเดียมอยู่เป็นปริมาณมากเช่นกัน

ข้อควรทราบและข้อควรปฏิบัติเพื่อลดการกินเค็ม
1.การกินเค็มมีผลทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น และทำให้เกิดผลเสียอืนๆต่อร่างการยด้วย เช่น
ทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น ทำให้ไตทำงานมากขึ้น เป็นต้น
2.การลดการกินเค็มในประชากรที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีผลช่วยป้องกันการเกิดโรค และในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว มีผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา
3.ไม่ความบริโภคเกลือ (โซเดียม) มากกว่า 6 กรัมต่อวัน (เกลือแกง 1 ช้อนชา หนักประมาณ 5 กรัม) และมีข้อมูลทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นว่า การลดการบริโภคเกลือลงเหลือเพียง 3 กรัมต่อวัน ก็ยิ่งมีประโยชน์ในการช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดียิ่งขึ้น
4.ข้อแนะนำเพื่อลดการกินเค็ม
- หลีกเลื่ยงการกินอาหารที่มีรสเค็มจัด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม กะปิ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการเติมเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว หรือซอสปรุงรสในอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว เนื่องจากในอาหารนั้นก็มีโซเดียมอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ถ้ามื้อนั้นเรารับประทานก๊วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว ซึ่งมีโซเดียม เป็นส่วนประกอบ 1,350 มิลลิกรัม ถ้าเราปรุงรสเพิ่มด้วยน้ำปลาสูตรทั่วไป อีก 1 ช้อนโต๊ะ ซึ่งมีโซเดียม 800 - 1,900 มิลลิกรัม ดังนั้นในผัดซีอิ๊วจานนั้น เราจะได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวันแล้ว โดยยังไม่รวมโซเดียมจากอาหารอื่นๆที่เรารับประทานด้วย
- หลีกเลี่ยงของขบเคี้ยว อาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูง โดยสามารถดูปริมาณโซเดียมได้จากสลากโภชนาการที่อยู่ข้างบรรจุภัณฑ์
- ค่อยๆปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภค ให้รับประทานจืดลง ช่่วงแรกอาจรู้สึกไม่อร่อย แต่เมื่อลิ้นปรับตัวเข้ากับอาหารที่จืดลงได้ ก็จะไม่ค่อยรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง โดยในช่วงเรื่มต้นอาจใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสสูตรลดโซเดียม แทนสูตรปกติ แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะผู้ป่วยไตวาย

ปริมาณโซเดียมในอาหารแต่ละประเภท ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ดูได้จากตาราง ในเอกสารคำแนะนำจากสมาคมฯ
ที่แนบมาให้ด้วย
ขอทราบรายการอาหารทุกประเภทสำหรับผู้ป่วยความดันสูง (PDF File)