Hypertension Update
ตอบคำถาม ผมอายุ 26 ปี กรณีแบบนี้ผมเป็นความดันสูงหรืือไม่ครับ 2198 View(s)
คำถาม : ปัจจุบันผมอายุ 26 ปี เวลาวัดความดันที่โรงพยาบาลจะสูงประมาณ 140/90 แต่วัดที่บ้านทุกวัน ความดันไม่เกิน 130/80 เช่น 128/86 115/67 119/67 129/83 123/70 120/72 เป็นต้น กรณีแบบนี้ผมเป็นความดันสูงหรืือไม่ครับ

ตอบ คุณ "คนพะเยา"

กรณีการวินิจฉัยระดับควมมดันโลหิต ของคุณ "คนพะเยา" ในตอนนี้ยังไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจาก ระดับความดันโลหิต ที่จะนำมาวินิจฉัยโรคนั้น ต้องวัดในท่า และสภาวะที่เหมาะสม ถูกต้อง โดยอ้างอิงจากแนวทางของ 2013 ESH/ESC Guidelines for the Management of Arterial Hypertension

1.การวัดความดันโลหิตที่สถานพยาบาลทางการแพทย์ เช่น โรงพยาบาล คลินิก เป็นต้น (Office or Clinic Blood Pressure)
คำแนะนำ ได้แก่

- ควรให้ผู้ป่วยนั่งพักเป็นเวลา 3 ถึง 5 นาที ก่อนทำการวัดความดันโลหิต
- ควรวัดความดันโลหิตในท่านั่ง และวัดความดันอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อเปรียบเทียบกัน ระยะเวลาในการวัด ห่างกัน 1 ถึง 2 นาที หากผู้ป่วยมีการเต้นของชีพจร แบบผิดจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ เช่น Atrial fibrillation ควรทำการวัดซ้ำ เพื่อความแม่นยำ
- ควรใช้ผ้าพันต้นแขน ที่ขนาดมาตรฐาน (ความกว้าง 12 ถึง 13 เซนติเมตร , ความยาว 35 เซนติเมตร) และควรเลือกใช้ ผ้าพันต้นแขน ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ หากขนาดรอบแขน ผู้ป่วยมากกว่า 32 เซนติเมตร หรือใช้ผ้าพันที่มีขนาดเล็กลง หากต้นแขนของผู้ป่วยมีขนาดเล็ก
- ตำแหน่งของผ้าพันต้นแขน ควรอยู่ที่ระดับเดียวกับ หัวใจของผู้ถูกวัดความดันโลหิต ในกรณี ใช้การฟังเสียง ควรใช้เสียง Korotkoff ระยะที่ 1 และ 4 (disappearance) ในการบ่งชี้ ความดันโลหิต ซิสโตลิก และดัยแอสโตลิก
- ในกรณีวัดความดันโลหิตครั้งแรก ควรวัดทั้งสองแขน เพื่อเปรียบเทียบกัน และในครั้งต่อๆไป ควรวัดที่แขนที่มีความดันโลหิตสูงกว่า เป็นการติดตาม
- ในการวัดความดันโลหิตครั้งแรก ควรวัดความดันโลหิตท่ายืน ที่ 1 และ 3 นาที ในผู้ป่วยสูงอายุ , เบาหวาน หรือภาวะอื่นๆที่อาจมี orthostatic hypotension
- ในการวัดความดันโลหิต แบบวิธีดั้งเดิม ควรจับอัตราการเต้นของชีพจร เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วินาที ภายหลังการวัดความดันโลหิต ครั้งที่ 2

2.การวัดความดันโลหิต นอกสถานพยาบาลทางการแพทย์ (Out-of-Office Blood Pressure)
เป็นการวัดความดันโลหิต ในสภาวะปราศจากสภาพแวดล้อมทางการแพทย์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่า การวัดความดันโลหิตในสถานพยาบาล
จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1 Ambulatory Blood Pressure Monitoriing (Daytime, Night-time และ 24 Hours Blood Pressure)
เป็นการวัดความดันโลหิต แบบใช้อุปกรณ์ จำเพาะ (Portable Blood Pressure Measuring Device) โดยวัดที่ต้นแขน ข้างที่มือไม่ถนัด เป็นระยะเวลา 24 ถึง 25 ชั่วโมง
ระยะเวลาในการวัดความดันโลหิต จะทำการวัด ทุกๆ 15 นาที ในช่วงเวลากลางวัน และ ทุกๆ 30 นาที ในช่วงเวลากลางคืน โดยข้อมูลความดันโลหิตที่ได้ จะถูกเก็บบันทึก นำออกมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ต่อไป

2.2 Home Blood Pressure Monitoring
เป็นการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ด้วยตัวของผู้ป่วยเอง หรือ บุคคลในครอบครัวที่ได้รับการแนะนำในวิธี เทคนิคในการวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิต ควรทำการวัด ทุกวัน ติดกันอย่างน้อย 3 ถึง 4 วัน และควรวัดสม่ำเสมอ ที่ระยะทุกๆ 7 วัน ในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน
การวัดความดัน ควรทำในห้องที่เงียบสงบ ผู้ป่วยควรอยู่ในท่านั่้ง ที่มีการรองหลังและแขน เป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาทีก่อนทำการวัดความดัน
ควรวัดความดัน 2 ครั้ง ในระยะห่าง 1 ถึง 2 นาที และทำการบันทึกข้อมูลในสมุดจดทันที ที่ทำการวัดเสร็จในแต่ละรอบ
ในการพัฒนา การใช้ Telemonitoring และโทรศัพท์ แบบ Smartphone อาจมีประโยชน์ ในการติดตามใกล้ชิด และได้รับคำแนะนำจากแพทย์

เกณฑ์การวินิจฉัยโรค ตามระดับวามดันโลหิต ได้แก่
การจำแนกระดับความดันโลหิต (มิลลิเมตรปรอท) จำแนกตามความรุนแรงในผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้ดังนี้
ความดันซิสโตลิก SBP (มิลลิเมตรปรอท ความดันไดแอสโตลิก DBP (มิลลิเมตรปรอท)

1.ความดันโลหิต ระดับ เหมาะสม (optimal) < 120 และ < 80

2.ความดันโลหิต ปกติ (normal) 120-129 และ/หรือ 80-84

3.ความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ยังไม่เป็นโรคความดันโหลิตสูง (high normal) 130-139 และ/หรือ 85-89

4.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 1 (Grade 1 hypertension : mild) 140-159 และ/หรือ 90-99

5.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 2 (Grade 2 hypertension : moderate) 160-179 และ/หรือ 100-109

6.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 3 (Grade 3 hypertension : severe) >/= 180 และ/หรือ >/= 100

7.ความดันโหลิตสูง ชนิดสูงเฉพาะความดันซิสโตลิก >/= 140 และ < 90 (Isolated systolic hypertension)

สำหรับค่าเกณฑ์การวินิจฉัย ระดับความดันโลหิต กรณีวัดที่บ้าน โดยเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ จะต่ำกว่าค่าที่วัดได้จาก mercury sphygmomanometer ประมาณ 5 มิลลิเมตรปรอท
โดยจะถิอว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อความดันซิสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 135 และหรือ ควาดันดัยแอสโตลิก มากกว่าหรือเท่่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอท