Hypertension Update
คำถาม แม่ของผม ความดัน 180-210 ด้านบนนะคับ พาไปหาหมอมา และคุณหมอให้ยามาทานแล้ว ความดันไม่ค่อยลดครับ ผมควรพาแม่ไปหาที่ไหน หรือมีวิธีช่วยแนะนำครับ 2274 View(s)
ตอบ : คำแนะนำเมื่อวัดความดันโลหิต ได้สูง โดย เมื่อวัดความดันโลหิตได้มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ให้วัดความดันโลหิตซ้ำใน 2 สัปดาห์ หรือวัดความดันโลหิตที่บ้าน
(home blood pressure monitoring, HBPM) หากสามารถทำได้ เพื่อยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจริง

ดังนั้น ระดับ่ความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยรายนี้ (หากการวัดความดันถูกต้อง) จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่รุนแรง ตามเกณฑ์ ด้านล่างครับ

การจำแนกระดับความดันโลหิต (มิลลิเมตรปรอท) จำแนกตามความรุนแรงในผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้ดังนี้ ครับ
ความดันซิสโตลิก SBP (มิลลิเมตรปรอท) ความดันไดแอสโตลิก DBP (มิลลิเมตรปรอท)
1.ความดันโลหิต ระดับ เหมาะสม (optimal) < 120 และ < 80
2.ความดันโลหิต ปกติ (normal)120-129 และ/หรือ 80-84
3.ความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ยังไม่เป็นโรคความดันโหลิตสูง (high normal) 130-139 และ/หรือ 85-89
4.โรคความดันโลหิตสูงระดับที่1 Grade 1 HT :mild)140-159 และ/หรือ 90-99
5.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่2(Grade 2 HT:moderate)160-179 และ/หรือ 100-109
6.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 3(Grade 3 HT:severe) >/= 180 และ/หรือ >/= 100
7.ความดันโหลิตสูง ชนิดสูงเฉพาะความดันซิสโตลิก >/= 140 และ < 90
(Isolated systolic hypertension)


หากผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง (SBP มากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ DBP มากกว่าหรือเท่ากับ 110 มิลลิเมตรปรอท) หรือมีร่องรอยของการทำลายอวัยวะ (target organ damage, TOD) ให้เริ่มยาลดความดันโลหิตได้ทันที โดยไม่ต้องรอการวัดซ้ำ

ร่องรอยของการทำลายอวัยวะ (target organ damage, TOD) ได้แก่
ระบบหัวใจ หัวใจห้องล่างซ้ายโต (left ventricular hypertrphy, LVH), หัวใจวาย
ระบบไต โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD)
ระบบสมอง โรคหลอดเลือดสมอง
ระบบตา ความผิดปกติของจอตาจากโรคความดันโลหิตสูง (hypertensive retinopathy)
ระบบหลอดเลือดแดง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)

แนวทางในการรรักษาโรคความดันโลหิตสูง ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดอื่นๆ ของผู้ป่วยด้วย ว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เป็นร่วมด้วยเหรือไม่

สำหรับ โรคระบบหลอดเลือด หรือ ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือด อื่้นๆ ที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เพื่อพิจารณาประกอบการรักษา ได้แก่
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคไตเรื้อรัง
โรคเบาหวาน
อายุ เพศชาย มากกว่า 55 ปี , เพศหญิง มากกว่า 65 ปี
การสูบบุหรี่
ระดับไขมันในเลือด ผิดปกติ (Cholesteral มากกว่า 200 มก/ดล . Triglyceride มากกว่า 150 มก./ดล. , HDL เพศชาย น้อยยว่า 40 มก./ดล. และเพศหญิง น้อยกว่า 50 มก/ดล.)
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า ปกติ Fasting plasma glucose 100-125 มก/ดล.
ประวัติในครอบครัว เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ในบิดา มารดา หรือพี่น้อง ก่อนวัยอันควร โดยในเพศชาย เกิดก่อนอายุ 55 ปี และเพศหญิง เกิดก่อนอายุ 65 ปี)
ภาวะอ้วน ลงพุง วัดเส้นรอบเอว ในเพศชาย มากกว่า หรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร , ในเพศหญิง มากกว่า หรือเท่ากับ 80 เซนติเมตร

แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
1.การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยแนะนำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงทำทุกราย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และช่วยลดความดันโลหิตได้บ้าง ทำให้สามารถลดการใช้ยาลดความดันโลหิต หรือใช้น้อยลง.
ประกอบด้วย

(1) การลดน้ำหนัก โดยให้ดัชนีมวลกาย เท่ากับ 18.5 ถึง 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 5 ถึง 20 มิลลิเมตรปรอท ต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม.
(2) การรับประทานอาหารประเภท DASH (Dietary Approach to Stop Hypertension) โดยให้รับประทานผัก ผลไม้ ให้มาก ลดปริมาณไขมันในอาหาร โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว จะมีประสิทธิภาพ การลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 8 ถึง 14 มิลลิเมตรปรอท.
(3) การจำกัดเกลือในอาหาร โดยให้รับประทานเกลือโซเดียม ให้น้อยกว่า 100 มิลลิโมลต่อวัน หรือ 6 กรัมของโซเดียมคลอไรด์ต่อวัน จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 2 ถึง 8 มิลลิเมตรปรอท.
(4) การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิค อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็วๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และเกือบทุกวัน จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 4 ถึง 9 มิลลิเมตรปรอท.
(5) การลดการดื่มแอลกอฮอล์ โดยจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 2 ดริ้งค์ต่อวัน ในผู้ชาย และไม่เกิน 1 ดริ้งค์ต่อวันในผู้หญิงและคนน้ำหนักน้อย
หมายเหตุ 1 ดริ้ง เทียบเท่ากับ 44 มิลลิลิตร ของสุรา (40 เปอร์เซ็นต์) , 355 มิลลิลิตรของเบียร์ (5 เปอร์เซ็นต์) , หรือ 148 มิลลิลิตรของเหล้าองุ่น (12 เปอร์เซ็นต์) จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 2 ถึง 4 มิลลิเมตรปรอท.

2.การรักษาโดยการใช้ยาลดความดันโลหิต ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ.

หาก การรักษา ไม่เป็นผลสำเร็จ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในการรักษาด้วยยา ร่วมกับวิธีอืนๆต่อไปครับ

ที่มา : แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติที่วไป พ.ศ.2555 โดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, กุมภาพันธ์ 2555.