Hypertension Update
คำถาม คุณแม่เป็นความดันโลหิตสูง ขอปรึกษาหน่อยครับ 12-12-2556 2198 View(s)
คำถามจาก คุณ wongsakorn_cake

คุณแม่เป็นความดันโลหิตสูง ขอปรึกษาหน่อยครับ
1 ท่านเป็นผู้หญิงตัวเล็กไม่อ้วน มีโอกาศเป็นความดันสูงได้มัยครับ
2 คุณแม่อายุ 49 เป็นความดันสูงถือว่าปกติหรือป่าว
3 ถ้าเป็นตอนอายุ 49 ต้องรับประทานยาตลอดชีวิตเลยหรือไม
4 ถ้าความดันลดลงจะงดยาได้มัย
5 แม่ความดันสูงวันนี้ไปตรวจขึ้น 160/90 ไม่ทราบมันสูงมากเลยริป่าวครับ ท่านค่อนข้างกังวลว่าจะต้องกินยาจริงๆหรือป่าวแล้วจะกินตลอดชีวิตทั้งที่อายุแค่ 49 ท่านกังวลมากครับ
--
คำตอบ
1 ท่านเป็นผู้หญิงตัวเล็กไม่อ้วน มีโอกาศเป็นความดันสูงได้มัยครับ ?
ตอบ : มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ครับ ถีงแม้ว่าภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ แต่พบว่า ในคนอ้วนหรือน้ำหนักเกิน บางคน ไม่เป็นโรความดันโลหิตสูง
และในทางตรงกันข้ามพบว่า คนผอม เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ เนื่องจากกระบวบการเกิดโรคนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุที่มากขึ้น และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น

2 คุณแม่อายุ 49 เป็นความดันสูงถือว่าปกติหรือป่าว ?
ตอบ : ความดันโลหิตสูง โดยหลักใหญ่ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ ซึ่งไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน (Essential หรือ Primary Hypertension) ได้แก่ ความดันโลหิตสูง
ที่พบทั่วไป ในคนสูงอายุ อายุที่เริ่มเป็นโรค มักจะอยู่ในช่วงอายุ 40 ถึง 50 ปี , และอีกประเภท ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (Secondary Hypertension) เป็นโรคความดันโลหิตสูง
ที่มีสาเหตุจากโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดไต โรคระบบต่อมหมวกไต เป็นต้น ซึ่งอายุที่เริ่มเป็นโรค มักเกิดก่อน 30 ปี หรือเกิดหลัง 50 ปี

3-4-5 ถ้าเป็นตอนอายุ 49 ต้องรับประทานยาตลอดชีวิตเลยหรือไม / ถ้าความดันลดลงจะงดยาได้มัย / แม่ความดันสูงวันนี้ไปตรวจขึ้น 160/90 ไม่ทราบมันสูงมากเลยริป่าวครับ
ท่านค่อนข้างกังวลว่าจะต้องกินยาจริงๆหรือป่าวแล้วจะกินตลอดชีวิตทั้งที่อายุแค่ 49 ท่านกังวลมากครับ
ตอบ : การจำแนกระดับความดันโลหิต (มิลลิเมตรปรอท) จำแนกตามความรุนแรงในผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้ดังนี้ ครับ
ความดันซิสโตลิก SBP / ความดันไดแอสโตลิก DBP (มิลลิเมตรปรอท)
1.ความดันโลหิต ระดับ เหมาะสม (optimal) < 120 และ < 80
2.ความดันโลหิต ปกติ (normal) 120-129 และ/หรือ 80-84
3.ความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ยังไม่เป็นโรคความดันโหลิตสูง (high normal)
130-139 และ/หรือ 85-89
4.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 1 (Grade 1 hypertension : mild)
140-159 และ/หรือ 90-99
5.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 2 (Grade 2 hypertension : moderate)
160-179 และ/หรือ 100-109
6.โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 3 (Grade 3 hypertension : severe)
>/= 180 และ/หรือ >/= 100
7.ความดันโหลิตสูง ชนิดสูงเฉพาะความดันซิสโตลิก >/= 140 และ < 90
(Isolated systolic hypertension)

แนวทางในการรรักษาโรคความดันโลหิตสูง ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดอื่นๆ ของผู้ป่วยด้วย ว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เป็นร่วมด้วยเหรือไม่
สำหรับ โรคระบบหลอดเลือด หรือ ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือด อื่้นๆ ที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เพื่อพิจารณาประกอบการรักษา ได้แก่
1) โรคหลอดเลือดหัวใจ
2) โรคหลอดเลือดสมอง
3) โรคไตเรื้อรัง
4) โรคเบาหวาน
5) อายุ เพศชาย มากกว่า 55 ปี , เพศหญิง มากกว่า 65 ปี
6) การสูบบุหรี่
7) ระดับไขมันในเลือด ผิดปกติ (Cholesteral มากกว่า 200 มก/ดล . Triglyceride มากกว่า 150 มก./ดล. , HDL เพศชาย น้อยยว่า 40 มก./ดล. และเพศหญิง น้อยกว่า 50 มก/ดล.)
8) ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า ปกติ Fasting plasma glucose 100-125 มก/ดล.
9) ประวัติในครอบครัว เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ในบิดา มารดา หรือพี่น้อง ก่อนวัยอันควร โดยในเพศชาย เกิดก่อนอายุ 55 ปี และเพศหญิง เกิดก่อนอายุ 65 ปี)
10) ภาวะอ้วน ลงพุง วัดเส้นรอบเอว ในเพศชาย มากกว่า หรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร , ในเพศหญิง มากกว่า หรือเท่ากับ 80 เซนติเมตร

สำหรับผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตได้ 160/90 มิลลิเมตรปรอท (และได้ทำการวัดซ้ำแล้ว ในวิธีที่ถูกต้อง) การวินิจฉัยความรุนแรง คือ ระดับที่ 2 การรักษาด้วยยา จำเป็นหากมีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 3 ข้อ
หรือเป็นโรคเบาหวาน หรือ โรคหัวใจ หรือโรคไต แล้ว

หากนอกเหนือจากกรณีดังกล่าว สามารถรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม ได้ 2 ถึง 4 สัปดาห์ หาก ไม่เป็นผลสำเร็จ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในการรักษาด้วยยา ร่วมกับวิธีอืนๆต่อไปครับ.