Hypertension Update
ข้อควรปฏิบัติ เมื่่อเป็นความดันโลหิตสูง 2198 View(s)
ข้อควรปฏิบัติ เมื่่อเป็นความดันโลหิตสูง
เมือวัดความดันโลหิต ได้มากกว่า หรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ให้วัดความดันโลหิตซ้ำใน 2 สัปดาห์ หรือวัดความดันโลหิตที่บ้าน (home BP monitoring) หากสามารถทำได้ เพื่อยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจริง แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง (ความดันซิสโตลิก มากกว่า หรือเท่ากับ 180 และหรือ ความดันดัยแอสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 110 มิลลิเมตรปรอท) หรือมีร่องรอยของการทำลายอวัยวะ (target organ damage) ให้เริ่มยาลดความดันโลหิตทันที โดยไม่ต้องทำการรอวัดซ้ำ. โดยขณะที่รอการยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ให้ส่งตรวจหาการทำลายอวัยวะ เช่น หัวใจหัองล่าซ้ายโต (left ventricular hypertrophy), โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease), และความผิดปกติของจอตาจากโรคความดันโลหิตสูง (hypertensive retinopathy), และประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease).
หากพบว่าไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ผู้ป่วยมีการทำลายอวัยวะ ให้ส่งตรวจหาสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิด. หากพบว่าความดันโลหิตยังเป็นปกติ ให้ติดตามวัดความดันโลหิต อย่างน้อยทุกปี และอาจวัดความดันโลหิตถี่กว่านั้น หากความดันโลหิตที่วัดได้ ใกล้ 140/90 มิลลิเมตรปรอท.

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
1.การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยแนะนำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงทำทุกราย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และช่วยลดความดันโลหิตได้บ้าง ทำให้สามารถลดการใช้ยาลดความดันโลหิต หรือใช้น้อยลง.
ประกอบด้วย
(1) การลดน้ำหนัก โดยให้ดัชนีมวลกาย เท่ากับ 18.5 ถึง 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 5 ถึง 20 มิลลิเมตรปรอท ต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม.
(2) การรับประทานอาหารประเภท DASH (Dietary Approach to Stop Hypertension) โดยให้รับประทานผัก ผลไม้ ให้มาก ลดปริมาณไขมันในอาหาร โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 8 ถึง 14 มิลลิเมตรปรอท.
(3) การจำกัดเกลือในอาหาร โดยให้รับประทานเกลือโซเดียม ให้น้อยกว่า 100 มิลลิโมลต่อวัน หรือ 6 กรัมของโซเดียมคลอไรด์ต่อวัน จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 2 ถึง 8 มิลลิเมตรปรอท.
(4) การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิค อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็วๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และเกือบทุกวัน จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 4 ถึง 9 มิลลิเมตรปรอท.
(5) การลดการดื่มแอลกอฮอล์ โดยจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 2 ดริ้งค์ต่อวัน ในผู้ชาย และไม่เกิน 1 ดริ้งค์ต่อวันในผู้หญิงและคนน้ำหนักน้อย
หมายเหตุ 1 ดริ้ง เทียบเท่ากับ 44 มิลลิลิตร ของสุรา (40 เปอร์เซ็นต์) , 355 มิลลิลิตรของเบียร์ (5 เปอร์เซ็นต์) , หรือ 148 มิลลิลิตรของเหล้าองุ่น (12 เปอร์เซ็นต์) จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 2 ถึง 4 มิลลิเมตรปรอท.

2.การรักษาโดยการใช้ยาลดความดันโลหิต ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ.

ที่มา : แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติที่วไป พ.ศ.2555 โดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, กุมภาพันธ์ 2555.