Hypertension Update
Acute kidney injury and cardiovascular outcomes in acute severe hypertension (Circulation May 25,2010) 2210 View(s)

ตีพิมพ์ในวารสาร Circulation 2010;121:2183-2191.

บทคัดย่อ


ที่มา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศีกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความบกพร่องการ ทำงานของไต และผลของภาวะความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง.  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความบกพร่องไตเรื้อรัง (chronic kidney disease), ภาวะการบกพร่องการทำงานของไตเฉียบพลัน (acute kidney injury, AKI หมายถึง การลดลงของ glomerular filtration rate มากกว่า ร้อยละ 25 จาก baseline) และผลระทบของผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลด้วยความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง.

วิธี และผลการศึกษา
ทะเบียนผู้ป่วยในการศึกษา the Treatment of Acute Hypertension (STAT) registry ได้คัดเลือกผู้ป่วยที่เข้านอนโรงพยาบาลซึ่งมีระดับความดันโลหิตสูงระดับ รุนแรง โดยมีเกณฑ์การวินิจฉัย ได้แก่ ความดันโลหิตอย่างน้อย 1 ครั้ง มีควาสดันซิสโตลิก มากกว่า 180 มิลลิเมตรปรอท และหรือ ความดันดัยแอสโตลิก มากกว่า 110 มิลลิเมตรปรอท และได้รับยาลดความดันโลหิตทางหลอดเลือดดำ.
พบผู้ป่วยร้อยละ 79 (จำนวน 1,566 คน) มีความบกพร่องการทำงานของไต โดย ผู้ป่วยร้อยละ 46 มี estimated glomerular filtation rate น้อยกว่า 60 ml/min, ผู้ป่วยร้อยละ 22 มี estimated glomerular filtation rate น้อยกว่า 30 ml/min. ผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องการทำงานของไตเรื้อรัง มีความเสี่ยงที่จะเกิด heart failure (p < 0.0001), non ST elevation myocardial infarction (p=0.003) และ ภาวะ acute kidney injury (p < 0.007).
ผู้ป่วยภาวะ acute kidney injury มีความความเสี่ยงต่อ heart failure และ cardiac arrest (p

ปัจจัย พยากรณ์การตายอื่นๆ ได้แก่ อายุมาก (p < 0.0001), เพศชาย (p= 0.016), ผิวขาว และผิวดำ (p=0.003) และการเสื่อมลงของการทำงานของไต (p=0.003).

สรุป
ภาวะ chronic kidney disease เป็น comorbidity ที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลด้วยภาวะความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง และภาวะ AKI เป็นภาวะ acute organ dysfunction ที่พบบ่อย และมีความเสี่ยงในการเพิ่มของ morbidity และ mortality ของผู้ป่วย.

Acute kidney injury and cardiovascular outcomes in acute severe hypertension (Circulation May 25,2010) (PDF File)