Hypertension Update
Long-Term Exposures to Urban Noise and Blood Pressure Levels and Control Among Older Adults 2198 View(s)
โดย Jennifer D’Souza และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension.2021;78:1801–1808.
DOI: 10.1161/HYPERTENSIONAHA.121.17708

บทคัดย่อ

เสียงในเมือง (urban noise) เป็นการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมทั่วไป ที่อาจเพิ่มภาระของความดันโลหิตสูงในชุมชน แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างชัดเจนในสหรัฐอเมริกา และยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมความดันโลหิต (BP).

ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบความสัมพันธ์ของเสียงในเมือง กับระดับความดันโลหิต และการควบคุมในสหรัฐอเมริกา. โดยใช้ข้อมูลการวัดซ้ำของความดันโลหิต และยา จากผู้เข้าร่วมโครงการ Chicago Health and Aging Project (อายุ ≥ 65 ปี) และ MESA (Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis; อายุ ≥45 ปี). การใช้แบบจำลองการคาดการณ์เชิงพื้นที่ (spatial prediction model) กับการวัดเฉพาะโครงการ (project-specific measurements)โดยทำการประเมินเสียงรบกวน ที่บ้านของผู้เข้าร่วม. กำหนดระดับความดันโลหิตสำหรับผู้ที่ใช้ยา และใช้แบบจำลองผลกระทบแบบผสม เพื่อประเมินความสัมพันธ์กับเสียง.

การวิเคราะห์แบบ การถดถอยโลจิสติก (logistic regression) ใช้สำหรับความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ และไม่สามารถรักษาได้. แบบจำลองดำเนินการแยกกัน ตามกลุ่มประชากรตามรุ่น และทั้งหมดมีการปรับเปลี่ยนตามอายุ (age) เพศ (sex) ปัจจัยทางสังคมวิทยา (sociodemographic factors) และแหล่งที่มาอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความสับสน (other plausible sources of confounding).

ผู้วิจัยได้ทำการประเมิน การวัดความดันโลหิต จำนวน 16,462 ครั้ง จากผู้เข้าร่วม 6,764 คน (จำแนกเป็น จำนวน 6,073 คน จาก Chicago Health and Aging และ จำนวน 691 คน จาก MESA) โดยมีระยะเวลาเฉลี่ย 4 ปี.

ผลการศึกษา : สำหรับกลุ่มประชากรตามรุ่นทั้งสอง พบว่าระดับเสียงที่มากขึ้น มีความเกี่ยวข้องกับระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้น และความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อการรักษา (treatment-resistant hypertension) อย่างเห็นได้ชัดเจน.

ในโมเดลแบบรวมกลุ่ม (pooled models) พบว่า ระดับเสียงที่อยู่อาศัยที่สูงขึ้น 10-dBA สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้น 1.2 (95% CI, 0.1–2.2) และ 1.1 mm Hg (95% CI, 0.6–1.7) ของความดันซิสโตลิก และความดันดัยแอสโตลิก ตามลำดับ รวมถึง โอกาสที่เพิ่มขึ้น 20 % ของความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษา (odds ratio ต่อ 10 dBA: 1.2 [95% CI, 1.0–1.4], P=0.04).

สรุป : เสียงในเมือง อาจเพิ่มระดับความดันโลหิต และการรักษาความดันโลหิตสูงที่ซับซ้อน ในประเทศสหรัฐอเมริกา.

Credit picture: cacm.acm.org/magazines.