Hypertension Update
Effects of Experimental Sleep Restriction on Ambulatory and Sleep Blood Pressure in Healthy Young Adults. A Randomized Crossover Study. 2196 View(s)
Effects of Experimental Sleep Restriction on Ambulatory and Sleep Blood Pressure in Healthy Young Adults. A Randomized Crossover Study.

โดย Naima Covassin.

วารสารวิชาการ Hypertension. 2021;78:859–870.

บทคัดย่อ :
แม้ว่าปัจจัยการนอนหลับไม่เพียงพอ (insufficient sleep) จะสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular risk)ที่เพิ่มขึ้น แต่หลักฐานของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนั้นยังไม่มีชัดเจน.

ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบ ผลกระทบของ การจำกัดการนอนหลับเป็นเวลานาน (prolonged sleep restriction) ต่อ ความดันโลหิตผู้ป่วยนอกตลอด 24 ชั่วโมง (24 h-ambulatory blood pressure, BP) และ การวัดหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ (other cardiovascular measures) ในผู้เข้าร่วมอายุน้อยที่มีสุขภาพดี (healthy young participants) จำนวน 20 คน (อายุ 23.4 ± 4.8 ปี หญิง 9 คน) ที่ได้รับการศึกษาแบบสุ่ม ควบคุม ครอสโอเวอร์ (randomized, controlled, crossover) ได้แก่ การศึกษาผู้ป่วยใน 16 วัน ซึ่งประกอบด้วย
- การปรับตัวเคยชิน (acclimation) ระยะเวลา 4 วัน
- การจำกัดการนอนหลับ (sleep restriction) ระยะเวลา 9 วัน แบ่งเป็น กลุ่มจำกัดการนอนหลับ (4 ชั่วโมง/ กลางคืน) หรือ กลุ่มควบคุมการนอนหลับ (9 ชั่วโมง)
- และ การพักฟื้น (recovery) ระยะเวลา 3 วัน.

ผู้เข้าร่วมในการวิจัย ได้รับประทานอาหารรักษาน้ำหนัก (weight maintenance diet) ด้วยการควบคุมองค์ประกอบสารอาหารตลอดระยะเวลาการวิจัย. ความดันโลหิต 24 ชั่วโมง (ผลลัพธ์หลัก - primary outcome) และ cardiovascular biomarkers ได้รับการตรวจซ้ำแล้วซ้ำอีก. การติดตามผล แบบโพลิซอมโนกราฟี (polysomnographic monitoring) เป็นไปอย่างต่อเนื่อง.

การเปรียบเทียบการจำกัดการนอนหลับ กับ การนอนหลับของกลุ่มควบคุม พบว่า
- ความดันโลหิตเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (24 h-mean BP) สูงกว่า ( adjusted mean difference วันที่ 12 เท่ากับ 2.1 มิลลิเมตรปรอท [95% CI, 0.6–3.6] corrected P= 0.016)
- การทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด ลดลง (endothelial function) (P<0.001)
- และ norepinephrine ในพลาสมา เพิ่มขึ้น (P=0.011)

แม้จะหลับลึก ความดันโลหิตก็สูงขึ้นขณะหลับ ระหว่าง การจำกัดการนอนหลับ (sleep restriction) และ การฟื้นตัว (recovery).

Post hoc analysis เปิดเผยว่า ความดันโลหิต 24 ชั่วโมง (24 h-BP), ความตื่นตัว (wakefulness) และความดันโลหิตขณะนอนหลับ (sleep BP)
เพิ่มขึ้น ในระหว่างขั้นตอนการทดลอง (experimental) และระยะฟื้นตัว (recovery phase) ของการจำกัดการนอนหลับ ในผู้หญิง เท่านั้น
โดยที่ค่าความดันโลหิตซิสโตลิกระหว่าง 24 ชั่วโมง และขณะนอนหลับเพิ่มขึ้น 8.0 (5.1–10.8) และ 11.3 (5.9– 16.7) มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ (both P<0.001).

การนอนหลับที่สั้นลง (shortened sleep) ทำให้เกิด การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (persistent elevation) ทั้งใน ความดันโลหิต ชนิด 24 ชั่วโมง (24-h BP)และ ในเวลานอน (sleep BP).

ผลกระทบจากแรงกดดันนั้นชัดเจน แม้จะควบคุมการบริโภคอาหาร และน้ำหนักอย่างใกล้ชิด ซึ่งบ่งชี้ว่า สาเหตุหลัก มาจากระยะเวลาการนอนหลับที่ สั้นลง.

ความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นนั้น โดดเด่น (striking) และคงอยู่ (sustained) โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ผู้หญิง ซึ่งอาจบ่งบอกถึง การขาดการปรับตัว (lack of adaptation)ให้เข้ากับการสูญเสียการนอนหลับ (sleep loss) และทำให้มีความเสี่ยงต่อผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด (adverse cardiovascular effects) มากขึ้น.

(credit thumbnail picture: https://www.sleephealthsolutionsohio.com/blog/10-effects-of-long-term-sleep-deprivation/)