Hypertension Update
Dietary Carbohydrate Intake and New-Onset Hypertension: A Nationwide Cohort Study in China 2197 View(s)
Dietary Carbohydrate Intake and New-Onset Hypertension: A Nationwide Cohort Study in China.

โดย Qinqin Li และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension. 2021;78:422–430.

บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคคาร์โบไฮเดรตกับความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงยังคงไม่แน่นอน.

ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินความสัมพันธ์ในอนาคตของ ปริมาณและประเภทของการบริโภคคาร์โบไฮเดรต กับการเกิดใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง (new-onset hypertension).

ผู้ใหญ่ จำนวน 12,177 คน ที่ไม่มีโรคความดันโลหิตสูง จากการสำรวจ the China Health and Nutrition Survey ถูกคัดเลือกเข้าสู่การศึกษานี้.

การบริโภคอาหาร วัดโดยการเรียกอาหารตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อกัน 3 ครั้ง ร่วมกับรายการอาหารในครัวเรือน (3 consecutive 24-hour dietary recalls combined with a household food inventory).

ผลการศึกษา ได้แก่ ความดันโลหิตสูงที่เริ่มมีอาการใหม่ (new-onset hypertension) ซึ่งหมายถึง ความดันโลหิตซิสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท
หรือ ความดันโลหิตดัยแอสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท
หรือ วินิจฉัยโดยแพทย์
หรือ อยู่ภายใต้การรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต ในระหว่างการติดตามผล

พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมด 4,269 ราย ได้มีการพัฒนา เป็นโรคความดันโลหิตสูง ในช่วงติดตามผลจาก 95,157 คน - ปี. โดยรวมแล้ว มีความสัมพันธ์รูปตัวยู (U-shaped association) ระหว่างเปอร์เซ็นต์พลังงานที่บริโภคจากคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด (ค่าเฉลี่ย 56.7 %; SD, 10.7) และความดันโลหิตสูงที่เริ่มมีอาการใหม่ (P สำหรับความไม่เป็นเชิงเส้น <0.001) โดยมีความเสี่ยงต่ำสุดที่สังเกตได้ที่ 50 % ถึง 55 % ของปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่บริโภค.

ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ พบใน ผู้ที่บริโภคนคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูง ในปริมาณที่น้อยลง (ค่าเฉลี่ย 6.4 % ; SD, 5.6) หรือ ผู้ที่บริโภคคาร์โบไฮเดรตคุณภาพต่ำ ในปริมาณที่สูงขึ้น (ค่าเฉลี่ย 47.0 % ; SD, 13.0)

นอกจากนี้ยังพบว่า มีความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่าง คะแนนคาร์โบไฮเดรตต่ำจากพืช สำหรับคาร์โบไฮเดรตคุณภาพต่ำ และความดันโลหิตสูงที่เริ่มมีอาการใหม่.

อย่างไรก็ตาม พบว่า มีความสัมพันธ์รูปตัวยู (U-shaped association) ระหว่างคะแนนคาร์โบไฮเดรตต่ำจากสัตว์ สำหรับคาร์โบไฮเดรตคุณภาพต่ำ และความดันโลหิตสูงที่เริ่มมีอาการใหม่ (P for nonlinearity < 0.001).

โดยสรุป อัตราร้อยละสูงและต่ำ ของอาหารคาร์โบไฮเดรต มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความดันโลหิตสูงที่เริ่มมีอาการใหม่ โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุดที่ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 50 % ถึง 55 % ที่บริโภค.

ผลการวิจัยนี้สนับสนุน การบริโภคคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูง และการทดแทนผลิตภัณฑ์จากพืช แทนการบริโภคคาร์โบไฮเดรตคุณภาพต่ำ เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง.

credit thumbnail picture: https://www.cooperinstitute.org/vault/2440/web/articles/thumb_15772-214717AC-0D9C-55C5-32617024F5275E53.jpg