Hypertension Update
Using Predicted Atherosclerotic Cardiovascular Disease Risk for Discrimination of Awake or Nocturnal Hypertension. 2218 View(s)
Using Predicted Atherosclerotic Cardiovascular Disease Risk for Discrimination of Awake or Nocturnal Hypertension.

โดย Swati Sakhuja และคณะ.

วารสารวิชาการ American Journal of Hypertension 33(11) November 2020.

บทคัดย่อ :
ที่มา : ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (atherosclerotic cardiovascular disease, ASCVD) หลายประการ เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงในช่วงตื่นนอนและตอนกลางคืน.

วิธีการศึกษา : เราประเมินความสัมพันธ์ระหว่าง คะแนนความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด แบบผสม (composite ASCVD risk score)กับความดันโลหิตสูง ในช่วงตื่นนอน (awake hypertension) หรือตอนกลางคืน (nocturnal hypertension) โดยใช้ข้อมูลจากผู้เข้าร่วมที่มีอายุ 40–79 ปี ที่ผ่านการตรวจวัดความดันโลหิตแบบผู้ป่วยนอก (ambulatory BP monitoring) ในฐานข้อมูล the Year 30 Coronary Artery Risk Development in Young Adults study exam ปี ค.ศ.2015 - 2016 (จำนวน 716 คน) และ ฐานข้อมูล the baseline Jackson Heart Study exam ในปี ค.ศ. 2000 – 2004 (จำนวน 770 คน).

ทำการคำนวณความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่คาดการณ์ไว้ 10 ปี (Ten-year predicted ASCVD risk) โดยใช้สมการความเสี่ยงของกลุ่มประชากรตามจำนวน (the Pooled Cohort risk equations).

คำนิยามของ ความดันโลหิตสูงขณะตื่น (awake hypertension) หมายถึง ความดันโลหิตในขณะตื่นตัว ค่าความดันซิสโตลิก (SBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 135 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (DBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอท.

คำนิยามของ ความดันโลหิตสูงในเวลากลางคืน ( nocturnal hypertension) หมายถึง ค่าเฉลี่ยการนอนหลับ โดยความดัน SBP มากกว่าหรือเท่ากับ 120 มิลลิเมตรปรอท หรือ DBP มากกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิเมตรปรอท.

ผลการศึกษา : ในบรรดาผู้เข้าร่วมที่มี ความเสี่ยง ASCVD ที่ทำนายไว้ 10 ปี จำแนกกลุ่ม ได้แก่ น้อยกว่า ร้อยละ 5 , ร้อยละ 5 ถึง <7.5 , ร้อยละ 7.5 ถึง น้อยกว่าร้อยละ 10 และ มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 10 พบความชุกร่วมกันของ ความดันโลหิตสูงขณะตื่น หรือความดันโลหิตสูงในเวลากลางคืน (composite outcome) ได้แก่ ร้อยละ 29.5 , ร้อยละ 47.8 , ร้อยละ 62.2 และ ร้อยละ 69.7 ตามลำดับ.

หลังจากการปรับค่าหลายตัวแปร (multivariable adjustment) พบว่า ความเสี่ยง ASCVD ที่สูงขึ้น มีความสัมพันธ์กับ อัตราส่วนความชุกที่สูงขึ้นสำหรับการเกิด ความดันโลหิตสูงตอนตื่ หรือตอนกลางคืน ของผู้เข้าร่วมที่มี SBP / DBP ที่วัดได้จากคลินิก น้อยกว่า 130 / 85 มิลลิเมตรปรอท. แต่ไม่สัมพันธ์ในกลุ่มที่มี SBP / DBP มากกว่าหรือเท่ากับ 130 / 85 มิลลิเมตรปรอท.

สถิติ C สำหรับการแยกแยะ (the C-statistic for discriminating) ระหว่าง ผู้เข้าร่วมที่มี กับผู้เข้าร่วมที่ไม่มี ความดันโลหิตสูงในช่วงตื่นนอนหรือตอนกลางคืน มากกว่า 0.012 (ช่วงความเชื่อมั่น 95% 0.003, 0.016) เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มที่ทำแบบจำลองที่มีความเสี่ยง ASCVD ร่วมกับการประเมินความดันโลหิตที่วัดได้จากคลินิก (clinic-measured blood pressure) กับกลุ่มที่ทำการประเมินความดันโลหิตที่วัดได้จากคลินิก เพียงอย่างเดียว โดยไม่ทำการประเมินความเสี่ยง ASCVD.

สรุป : การใช้ การประเมินความเสี่ยง ASCVD ที่คาดการณ์ไว้ 10 ปี (10-year predicted ASCVD risk) ร่วมกับการวัดความดันทางคลินิก ช่วยปรับปรุงการจำแนก กลุ่มผู้ป่วยที่มี หรือไม่มี ความดันโลหิตสูงขณะตื่น หรือความดันโลหิตสูงในเวลากลางคืน ได้

(picture: https://d33ljpvc0tflz5.cloudfront.net/dims3/MMH/1be8e74/2147483647/strip/true/crop/5754x3746+0+80/resize/768x500!/quality/75/?url=https%3A%2F%2Fd26ua9paks4zq.cloudfront.net%2F25%2F93%2F03da69ab48b18beef3866316298a%2Fgettyimages-1127530951.jpg)