Hypertension Update
Staging Cardiac Damage in Patients With Hypertension 2221 View(s)
Staging Cardiac Damage in Patients With Hypertension

โดย Yuta Seko และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension.2019;74:1357-1365

บทคัดย่อ :
หัวใจห้องล่าง (ventricleX และ ส่วนภายนอกหัวใจห้องล่าง (extraventricular) ตอบสนองต่อความดันเกินพิกัด ซึ่งอาจเป็นกระบวนการทั่วไปในหลอดเลือดตีบและความดันเลือดสูง.
ผู้ทำการศึกษาได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของการจัดหมวดหมู่ใหม่ ที่กำหนดลักษณะขอบเขตความเสียหายของหัวใจ ที่พัฒนามาสำหรับ aortic stenosis โดยมีผลระยะยาวในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง.

ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ retrospective ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมจำนวน 1,639 คน ซึ่งได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและ transthoracic echocardigraphy ในปี ค.ศ.2013 ณ โรงพยาบาลญี่ปุ่น
โดยภายหลังจากที่ทำการคัดออกสำหรับภาวะ severe และ moderate aortic stenosis, aortic regurgitation, mitral stenosis, previous myocardial infarction
หรือ cardiomypathy. ได้ทำการจำแนกผู้ป่วยตามประเภทการมี หรือไม่มี cardiac damage ซึ่งตรวจพบจากการทำ echocardiography ดังนี้
stage 0, no cardiac damage (n= 858)
stage 1, left ventricular damage (n= 358; 21.8%)
stage 2, left atrial หรือ mitral valve damage (n= 360; 22.0%)
หรือ stage 3 และ 4 , pulmonary vasculature, tricuspid valve หรือ right ventricular damage (n= 63; 3.8%).
ผลลัพธ์หลักได้แก่ composite of all-cause death และ major adverse cardiac events.

อุบัติการณ์ 3 ปีสะสมของผลลัพธ์หลักคือ 15.5% ในระยะที่ 0, 20.7% ในระยะที่ 1, 31.8% ในระยะที่ 2 และ 60.6% ในระยะที่ 3. ภายหลังจากได้ปรับตัวปัจจัยรบกวนแล้ว พบว่าระยะที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดผลลัพธ์หลักที่สูงขึ้น (per 1-stage increase: hazard ratio, 1.46 [95%CI, 1.31-1.61); P < 0.001).

สรุป การจำแนกลักษณะการขยายตัวของการบาดเจ็บหัวใจ ซึ่งมีที่มาจากภาวะ aortic stenosis นั้นมีความสัมพ้นธ์ ผลระยะยาวในผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูง.

Credit picture : www.diabetescare.net