Hypertension Update
Dose-Response Association Between Level of Physical Activity and Mortality in Normal, Elevated,and High Blood Pressure 2254 View(s)
Dose-Response Association Between Level of Physical Activity and Mortality in Normal, Elevated,and High Blood Pressure.

โดย Joseph G. และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension.2019;74:1307-1315

บทคัดย่อ
เป็นความท้าทายในการตรวจสอบปริมาณของการออกกำลังกาย ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด ในคนไข้โรคความดันโลหิตสูง. การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการออกกำลังกายในทุกๆวัน ต่อปัจจัยการเสียชีวิตแบบทุกสาเหตุ และผลต่อระบบหัวใจหลอดเลือด ที่ระดับความดันโลหิตที่แตกต่างกัน. จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่ม พบเป็นเพศชายและหญิง ผิวขาว จำนวน 18,974 คน มีอายุระหว่าง 20 ถึง 98 ปี ได้รับการทำการทดสอบในลักษณะการศึกษาโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต (prospective cardiovascular study). รายงานระดับกิจกรรมแบบรายงานด้วยตนเองใรเวลาว่าง มาจากแบบสอบถามกิจกรรมการออกกำลังกาย (the Physical Activity Questionnaire) โดย ระดับ (level) 1 : inactivity, ระดับ 2 : light activity, ระดับ 3 : moderate/high-level activity.

นิยามของความดันโลหิต (blood pressure) ได้แก่
- Normal blood pressure (ความดันโลหิตปกติ) หมายถึง ค่าความดันโลหิต น้อยกว่า 120 / น้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท
- Prehypertension หมายถึง ค่าความดันโลหิต 120 - 139 / 80 - 89 มิลลิเมตรปรอท
- Stage I hypertension หมายถึง ค่าความดันโลหิต 140 - 159 / 90 - 99 มิลลิเมตรปรอท
- Stage II hypertension หมายถึง ค่าความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 160 / มากกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิเมตรปรอท

ระยะเวลาการติดตามเฉลี่ย เท่ากับ 23.4 +/- 11.7 ปี. พบว่าที่ระดับความดันโลหิตทุกๆระดับ การมีกิจกรรมการออกกำลังกายที่มากกว่า จะสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการเสียชีวิตจากทุกๆสาเหตุ
(lower all-cause mortality) โดยที่รูปแบบไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการปรับตัวแปรรบกวน ได้แก่ เพศ, อายุ, การสูบบุหรี่, การศึกษา, เบาหวาน, การเป็นโรคหัวใจ, ดัชนีมวลกาย และระยะเวลาปฏิทิน. เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่มีกิจกรรมการออกกำลังกาย พบว่าค่า hazard ratio ในกลุ่ม Stage I hypertension :
- light activity, hazard ratio 0.78 (0.72-0.84; P < 0.001)
- moderate/high-level activity, hazard ratio 0.69 (0.63-0.75; P < 0.001).

ที่ระดับความดันโลหิตทุกๆระดับ พบว่า ความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจหลอดเลือด ลดลงแบบอิสระ (independent) กับระดับของกิจกรรมออกกำลังกาย.

สรุป : ความสัมพันธ์กับกิจกรรมการออกกำลังกาย กับอัตราการเสียชีวิตเป็นไปในลักษณะรูปแบบการตอบสนองของขนาดผกผัน (inverse dose-response) ในทุกๆระดับความดันโลหิต กิจกรรมการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับการลดลงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจหลอดเลือดในทุกๆระดับของการออกกำลังกาย.

Credit picture: www.irishtimes.com