Hypertension Update
Schedule for self-monitoring blood pressure. A systematic review. 2204 View(s)
Schedule for self-monitoring blood pressure: A systematic review.

โดย Jame A. Hodgkinson และคณะ

วารสารวิชาการ American Journal of Hypertension 32(4) April 2019

บทคัดย่อ
ที่มา : การติดตามความดันโลหิตด้วยตนเองซึ่งสามารถทำนายการพยากรณ์โรคได้ดีกว่าการวัดความดันที่คลินิกนั้นเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ป่วยและถูกนำสู่แนวทางเวชปฏิบัติ. แต่อย่างไรก็ตาม ตารางการติดตามด้วยตนเองนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าความเป็นอย่างไรให้มีความเหมาะสม. ผู้ทำการศึกษาได้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตารางการติดตามความดันโลหิตด้วยตนเองที่เหมาะสมเพื่อที่สามารถทำนายภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตและสามารถประเมินความดันโลหิตที่แท้จริงได้

วิธีการศึกษา : ข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 6 ฐานข้อมูลซึ่งได้ถูกค้นหาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2009 (updating a National Institute for Health and Care Excellence [NICE] systematic review) ถึงเดือนเมษายน ค.ศ.2017. การศึกษาเหล่านี้ได้มีการเปรียบเทียบตารางการติดตามความดันโลหิตสูงด้วยตนเองที่สามารถพยากรณ์โรค (prognosis) หรือมีความน่าเชื่อถือ (reliability) / สามารถทำซ้ำได้ (reproducibility) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นผู้ใหญ่. ข้อมูลของการศึกษาและลักษณะของประชากร, การกำหนดตารางการติดตามด้วยตนเอง (self-monitoring regime) และ ผลการรักษา ได้ถูกสกัดออกมาโดยผู้ทบทวน 2 คนซึ่งเป็นอิสระต่อกัน.

ผลการศีกษา : จากบทความจำนวน 5,164 ชิ้นงาน พบว่ามีจำนวน 25 บทความที่เข้าตามเกณฑ์คัดเลือกเข้า และมีอีก 12 การศีกษาถูกคัดเลือกเข้าจาก original NICE review ทำให้มีการศึกษาทั้งสิ้น 37 ชิ้นงาน. พบว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนวันที่ใช้ในการประเมินจะทำให้พลังในการทำนายดีขึ้น (improved prognostic power) : ร้อยละ 72 ถึง 91 ของ theoretical predictive value (asymptomatic hazard ratio) สำหรับ 3 วันและร้อยละ 86 ถึง 96 สำหรับ 7 วัน.
พบว่าการเพิ่มขึ้นภายหลังมากกว่า 3 วันของการประเมินไม่ได้ส่งผลที่ดีกว่าสำหรับการประเมินด้วย ambulatory monitoring. ไม่มีหลักฐานที่น่าเชือถือว่า เวลาหรือจำนวนของการอ่านผลต่อวันจะมีผล หรือการไม่สนใจในวันแรกของการประเมินนั้นมีความจำเป็น.

สรุป : การประเมินความดันโลหิตที่บ้านควรทำ 3 วันต่อสัปดาห์ และเพิ่มเป็น 7 วันเมื่อค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตนั้นใกล้กับเกณฑ์การวินิจฉัยหรือการรักษา. ด้านอื่น ๆ ของตารางการติดตามสามารถยืดหยุ่นเพื่ออำนวยความสะดวกการของผู้ป่วยและให้สามารถปฏิบัติตามด้วยการติดตามด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง.

Credit image : https://mylowerbloodpressure.com/wp-content/uploads/2016/02/shutterstock_314092178-2-syda-productions.jpg