Hypertension Update
Impact of serum uric acid on incident hypertension in a worksite population of Japanese men 2199 View(s)
Impact of serum uric acid on incident hypertension in a worksite population of Japanese men

โดย Yasuo Kansui และคณะ
วารสารวิชาการ Journal of Hypertension 2018,36:1499-1505

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : ระดับกรดยูริคที่สูงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยอาจเป็นปัจจจัยกวนซึ้งอาจเป็นโรคร่วมที่พบร่วมกัน. ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาผลของกรดยูริกในเลือด ต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ชายชาวญี่ปุ่นในสถานที่ทำงาน.

วิธีการศีกษา : ผู้วิจัยได้ทำการประเมินผู้ชายชาวญี่ปุ่นจำนวน 2,335 คน ซึ่งเป็นคนทำงานที่ยังไม่เคยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยมีอายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 64 ปี ในปีค.ศ.2009. กลุ่มที่ศึกษานี้ได้ถูกติดตามเป็นระยะเวลา 6 ปี จากปีค.ศ.2009 ถึงปีค.ศ.2015.

ผลการศึกษา : ในระยะเวลาติดตาม พบว่ามีจำนวน 380 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง. ค่า Odd ratio สำหรับการเกิดอุบัติการณ์โรคความดันโลหิตสูงได้ทำการประเมินร่วมกับระดับกรดยูริคในเลือดที่ระดับ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5.1 , 5.2 ถึง 5.8 , 5.9 ถึง 6.6 , และ มากกว่าหรือเท่ากับ 6.7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร.

การประเมิน multivariable-adjusted risk ของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงพบว่าสูงขึ้นในกลุ่มที่มีระดับกรดยูริคในเลือดที่ควอไทร์สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีระดับต่ำที่สุด
ค่า Odd ration 1.00 (ระดับอ้างอิง) สำหรับ lowest quartile ,
1.34 (0.91 ถึง 1.97) สำหรับ second quartile ,
1.42 (0.97 ถึง 2.06) สำหรับ third quartile ,
1.65 (1.14 ถึง 2.40) สำหรับ highest quartile.

ในการวิเคราะห์แบบระดับชั้น พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างระดับกรดยูริคในเลือดกับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปีซึ่งไม่มีโรคประจำตัว (เบาหวาน และระดับของ high-density lipoprotein-cholesteral [HDL] ต่ำ).

สรุป : ระดับกรดยูริคในเลือดมีความสัมพันธ์กับอนาคตของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และมีความสัมพันธ์ในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า โดยเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน และมีระดับ HDL ต่ำ ในประชากรเพศชาย วัยทำงาน.

Credit image: https://www.medicalnewstoday.com/articles/150109.php