Hypertension Update
Effect of Lowering Diastolic Pressure in Patients With and Without Cardiovascular Disease 2201 View(s)
Effect of Lowering Diastolic Pressure in Patients With and Without Cardiovascular Disease.
Analysis of the SPRINT (Systolic Blood Pressure Intervention Trial).

โดย Nadia A. Khan และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2018;71:840-847.

บทคัดย่อ
ยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงค่าระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและดัยแอสโตลิกที่ต่ำกว่าเท่าไร จึงทำให้ภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจหลอดเลือดเพิ่มขึ้น. จากข้อมูลจากการศึกษา SPRINT (Systolic Blood Pressure Intervention Trial) , ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความดันซิสโตลิก
และดัยแอสโตลิก กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจหลอดเลือด ในผู้ป่วยจำนวน 1,519 รายที่มีโรคระบบหัวใจหลอดเลือดมาก่อน และจำนวน 7,574 รายที่ไม่มีโรคระบบหัวใจหลอดเลือดมาก่อน.

การวิเคราะห์รูปแบบ Cox regression, ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาปัจจัยเสี่ยงรวม composite ของ myocardial infarction, other acute coronary syndrome, stroke , heart failure หรือ cardiovascular death และติดตามค่าความดันโลหิตซิสโตลิก และดัยแอสโตลิก แบบ time-dependent covariates สำหรับค่ามัธยฐานเท่ากับ 3.1 ปี. รูปแบบการศีกษาได้มีการปรับตามปัจจัยอายุ , เพศ , ความดันซิสโตลิกพื้นฐาน , ดัชนีมวลกาย , 10-year Framingham risk score และค่าการทำงานของไต (estimated glomerular filtration rate)

ลักษณะความสัมพันธ์แบบ J-shaped กับระดับความดันดัยแอสโตลิกได้ถูกศึกษาในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่มี หรือ ไม่มีโรคหัวใจหลอดเลือดอยู่เดิม(P nonlinearity น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.002)

เมื่อความดันโลหิตดัยแอสโตลิกลดลงเหลือค่าน้อยกว่า 55 มิลลิเมตรปรอท พบว่าโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน (hazards) สูงกว่าร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีค่าความดันโลหิตดัยแอสโตลิกสูงกว่า 70 มิลลิเมตรปรอท (P = 0.29).

ค่า Hazard ratios (95%CI) ของกลุ่มที่มีความดันดัยแอสโตลิก น้อยกว่า 55 มิลลิเมตรปรอท เปรียบเทียบกับ ระหว่าง 55 ถึง 90 มิลลิเมตรปรอท เท่ากับ 1.68 (1.16-2.43), P value 0.006 และ 1.52 (0.99-2.34), P value 0.06 ในผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มี หรือมีโรคประจำตัวระบบหัวใจหลอดเลือดอยู่เดิม ตามลำดับ.

ภายหลังจากการปรับตามค่า follow-up diastolic blood pressure พบว่าค่า follow-up systolic blood pressure ไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่ไม่ได้มีโรคหัวใจหลอดเลือดอยู่ก่อน (P=0.64).

ในกลุ่มที่มีโรคระบบหัวใจหลอดเลือดอยู่เดิม กับการปรับค่าความดันดัยแอสโตลิก พบว่า follow-up systolic blood pressure มีส่วนสัมพ้นธ์กับความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่ควบคุมแบบเข้มงวด (hadard ratio ต่อค่าความดันดัยแอสโตลิกที่ลดลงทุก 10 มิลลิเมตรปรอท, 0.86; 95%CI, 0.75-0.99; P interaction = 0.02).

สรุป จากลักษณะการเกิดความสัมพันธ์แบบ J-shaped ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการศึกษา SPRINT ผู้วิจัยได้แนะนำให้มีการระวังในการควบคุมระดับความดันโลหิตดัยแอสโตลิกที่ต่ำมากจนเกินไป.

Credit picture: http://healthlove.in/health/how-to-lower-diastolic-blood-pressure-naturally/attachment/lower-your-blood-pressure-how-to-lower-diastolic-blood-pressure-naturally/