Hypertension Update
Uric Acid Is a Strong Risk Marker for Developing Hypertension From Prehypertension 2195 View(s)
Uric Acid Is a Strong Risk Marker for Developing Hypertension From Prehypertension. A 5-Year Japanese Cohort Study.

โดย Kuwabara M และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension 2018;71:78-86.

บทคัดย่อ :
ภาวะก่อนความดันโลหิตสูง (Prehypertension) เป็นภาวะที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยหรือการเสียชีวิตจากโรคหัวใจหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง. แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จากภาวะ prehypertension ยังคงเป็นประเด็นที่ยังไม่มีความเข้าใจอย่างชัดเจน.

ผู้ทำการวิจัยได้ทำการศีกษา ชนิด retrospective cohort study ในชาวญี่ปุ่น ที่มีภาวะ prehypertension จำนวน 3,584 คน (มีอายุเฉลี่ย 52.1 +/- 11.0 ปี , เพศชาย 2,081 คน) ได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะ prehypertension ในปี ค.ศ.2004 และได้รับการประเมินอีกครั้งในปีค.ศ.2009. ผู้ทำการวิจัยได้ทำการคำนวณ อุบัติการสะสม (cumulative incidence) ของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในระยะเวลา 5 ปี , ตรวจหาปัจจัยเสี่ยง และคำนวณ odd ratios (ORs)
สำหรับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ภายหลังการปรับปัจจัย อายุ , เพศ , ดัชนีมวลกาย , การสูบบุหรี่และการดื่มแอลอกฮอล์ , ระดับความดันซิสโตลิกและดัยแอสโตลิกพื้นฐาน , ชีพจร , โรคเบาหวาน , โรคไขมันในเลือดผิดปกติ , โรคไตเรื้อรัง , และระดับกรดยูริกในเลือด.
วัตถุประสงค์การวิเคราะห์ เพื่อประเมินปัจจัยกรดยูริกในเลือดที่สูง (hyperuricemia) เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่.

ผลการศึกษา พบว่า อุบัติการสะสม (cumulative incidence) ของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในระยะเวลา 5 ปี เท่ากับร้อยละ 25.3. ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างเพศหญิง กับเพศชาย (ร้อยละ 24.4 และ 26.0; P=0.28). อุบัติการณ์สะสมของการเกิดโรความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูง (จำนวน 726 คน) เพิ่มขึ้่นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้มีปัจจัยดังกล่าว (2,858 คน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 30.7 กับ ร้อยละ 24.0; P< 0.001).

ภายหลังการปรับ multivariable พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จากภาวะก่อนความดันโลหิตสูง ได้แก่ อายุ (OR, 1.023; P<0.001) , เพศหญิง (OR, 1.595; P<0.001) , ค่าดัชนีมวลกายสูง (OR, 1.051; P<0.001) , ค่าความดันซิสโตลิกที่สูง (OR, 1.072; P<0.001) และค่าความดันดัยแอสโตลิกที่สูง (OR, 1.085; P<0.001) , กรดยูริกในเลือดสูง (OR, 1.149; P<0.001).

ดังนั้น จากการศึกษานี้ พบว่า ระดับกรดยูริกในเลือดที่สูงในผู้ที่มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูง จะมีความสัมพันธ์ในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต ยังคงต้องการการศีกษาเพิ่มเติมถึงด้านการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงในกลุ่มที่มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจจะเป็นการชะลอการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในอนาคตต่อไป.

(ภาพประกอบhttp: //www.countercurrents.org/wp-content/uploads/2016/06/HYPERTENSION.jpg)