Hypertension Update
Effect of Folic Acid Therapy on the New-Onset Proteinuria in Chinese Hypertensive Patients 2193 View(s)
Effect of Folic Acid Therapy on the New-Onset Proteinuria in Chinese Hypertensive Patients.
A Post Hoc Analysis of the Renal Substudy of CSPPT (China Stroke Primary Prevention Trial).

โดย Youbao Li และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2017;70:300-306.

บทคัดย่อ
ผู้ทำการศึกษาได้ตั้งสมมติฐานว่า การรักษาด้วยยาลดความดัน Enalapril และ Folic acid จะมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ภาวะ New-onset proteinuria มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ยา Enalapril เพียงอย่างเดียว ในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. โดยการศึกษานี้ เป็นแบบ Post hoc analysis ของ Renal substudy ในการศึกษาหลัก ได้แก่ the CSPPT (China Stroke Primary Prevention Trial).

จำนวนผู้เข้าร่วมในการศึกษานี้ ทั้งสิ้น 13,071 ราย ซึ่งยังไม่มีภาวะ Proteinuria ได้ถูกทำการสุ่ม แบบ randomized double blind โดยกลุ่มแรก (จำนวน 6,511 คน) ได้รับยาจำนวน 1 เม็ด ซึ่งประกอบด้วยตัวยา Enalapril 10 มิลลิกรัม และ Folic acid 0.8 มิลลิกรัม
และอีกกลุ่ม (จำนวน 6,560 คน) ได้รับยาเฉพาะ Enalapril 10 มิลลิกรัม.

ผลการศึกษาชนิดปฐมภูมิ ได้แก่ การเกิด new onset proteinuria , โดยได้ให้คำนิยาม ว่าหมายถึง การตรวจปัสสาวะด้วย urine dipstick อ่านผลตั้งแต่ 1+

ผลการศึกษาชนิดทุติยภูมิ ได้แก่ การรวมกันของ ผลการศึกษาปฐมภูมิ ร่วมกับ การเสียชีวิตโดยทุกสาเหตุ (all-cause death) และอัตราการลงในแต่ละปีของ estimated glomerular filtration

ภายหลังจากระยะเวลารักษามัธยฐาน 4.4 ปี พบว่มีผลการศึกษาชนิดปฐมภูมิ เกิดขึ้น จำนวน 213 คน (คิดเป็นร้อยละ 3.9) และ 188 คน (คิดเป็นร้อยละ 3.5) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รบยา Enalapril อย่างเดียว และกลุ่มที่ได้รับยา Enalapril ร่วมกัย Folic acid ตามลำดับ (odds ratio, 0.90; 95% confidence interval, 0.74-1.11).

อย่างไรก็ตาม พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานตั้งแต่เข้าร่วมการศึกษา การได้รับ Folic acid จะมีส่วนฝนการลดลงของการเกิดผลลัพธ์ด้านปฐมภูมิ primary event (ร้อยละ 3.7 ในกลุ่ม Enalapril-Folic acidเปรียบเทียบกัยบ ร้อยละ 7.4 ในกลุ่ม Enalapril ; Odds ratio, 0.48; 95% confidence interval, 0.29-0.81) และ composite event (Odds ratio, 0.62; 95% confidence interval, 0.42-0.92) และ ลดอัตราการลดลงประจำปีของ estimated glomerular filtration ได้ร้อยละ 55 (ร้อยละ 0.5 เปรียบเทีบบกับ ร้อยละ 1.1 ต่อปี ; P= 0.002).

สำหรับในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่เข้าในการศึกษา ไม่พบความแตกต่างในทุกๆผลลัพธ์ ระหว่างทั้งสองกลุ่ม

สรุป เมื่อทำการเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยา Enalapril เพียงอย่างเดียว พบกว่า การรักษาด้วยยา Enalapril-Folic acid มีส่วนในการลดลงของการเกิด proteinuria ได้อย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่มผู้ป่วยความด้นโลหิตสูง ร่วมกับโรคเบาหวาน

(รูปประกอบ http://medifitbiologicals.com/wp-content/ uploads/2015/12 /droppedImage.jpg)