Hypertension Update
Blood Pressure, Antihypertensive Polyphramacy, Frailty and Risk for Serious Fall Injuries Among Older Treated Adults With Hypertension. 2200 View(s)
Blood Pressure, Antihypertensive Polyphramacy, Frailty and Risk for Serious Fall Injuries Among Older Treated Adults With Hypertension.

โดย Samantha G. Bromfield และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension 2017;70:259-266.

บทคัดย่อ: จากข้อมูลบางการศึกษา พบว่ายาลดความดันโลหิต และการลดต่ำของค่าความดันซิสโตลิก กับดัยแอสโตลิก มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการหกล้ม. นอกจากกนั้ ยังพบว่าผู้ป่วยสูงอายุจำนวนมาก ที่มีลักษณะของความอ่อนแอ จะมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงในการหกล้มเช่นเดียวกัน.

ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยระดับความดันซิสโตลิก , ความดันดัยแอสโตลิก , จำนวนประเภทยาลดความดันโลหิต , ปัจจัยบ่งขี้ของความอ่อนแอ และปัจจัยเสี่ยงของการหกล้ม ในผู้ป่วยจำนวน 5236 คน จาก REGARDS study (Reasons for Geographic and Racial Difference in Stroke) ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต โดย Medicare fee-for-service coverage. ในระหว่างการศึกษา ได้มีการติดตามข้อมูล ความดันโลหิตซิสโตลิก , ดัยแอสโตกลิก , จำนวนชนิดของยาลดความดันโลหิตที่ผู้ป่วยได้รับ.

ปัจจัยบ่งชี้ความอ่อนแอ ได้แก่ การมีค่าดัชนีมวลกายระดับต่ำ , การมีระบบความจำบกพร่อง , อาการซึมเศร้า , ความอ่อนล้า , ความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว, และการมีประวัติหกล้มในอดีตมาก่อน.

การได้รับบาดเจ็บจากการหกล้มแบบรุนแรง หมายถึง การหกล้มที่พบร่วมกับ การมีกระดูกหัก , สมองได้รับบาดเจ็บ , หรือมีการหลุดของข้อ.

จากในค่ามัธยฐานระยะเวลาการติดตาม ที่ 6.4 ปี , พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 802 คน (คิดเป็นร้อยละ 15.3) เกิดการหกล้มประเภทรุนแรง. ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ multivariable-adjusted hazard ratio ในกลุ่มที่เกิดการหกล้มแบบรุนแรง ร่วมกับพิจารณาการมีปัจจัยด้านความอ่อนแอ จำนวน 1 , 2 , หรือ มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ปัจจัย เปรียบเทียบกับไม่มีปัจจัยดังกล่าว มีค่าเท่ากับ 1.18 (95% confidence interval, 0.99 - 1.40) , 1.49 (95% confidence interval, 1.19 - 1.87) , 2.04 (95% confidence interval, 1.56 - 2.67) ตามลำดับ.

ภายหลังการวิเคราะห์แบบ multivariable adjustment ไม่พบความสัมพันธ์ ของระดับความดันซิสโตลิก , ดัยแอสโตลิก และจำนวนชนิดยาลดความดันโลหิต กับการเกิดการหกล้มแบบรุนแรง.

สรุป ปัจจัยบ่งชี้ความอ่อนแอ (โดยไม่เกี่ยวกับ ระดับความดันโลหิต หรือจำนวนชนิดยาลดความดันโลหิต) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิดการหกล้ม ชนิดรุนแรงในผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตอยู่.

ขอบคุณรูปประกอบจาก thaitgri.org/wp-content/