Hypertension Update
Ambulatory Blood Pressure Characteristics and Long-Term Risk for Atrial Fibrillation 2213 View(s)
Ambulatory Blood Pressure Characteristics and Long-Term Risk for Atrial Fibrillation.

โดย Perkiomaki JS, และคณะ

วารสารวิชาการ Am J Hypertens (2017) 30 (3):264-270.

ที่มา : ได้มีการตั้งสมมติฐานว่า การเพิ่มขึ้นของความดันซิสโตลิก ในเวลากลางคืน จากการวัดความดันโลหิตประเภท Ambulartory blood pressure (ABP) เมื่อเปรียบเทียบกับการวัดความดันลักษณะเดียวกันในเวลากลางวัน พบว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะ atrial fibrillation ในระยะยาว
และในบางครั้งอาจต้องมีกลยุทธในการรักษา เพื่อป้องกันการเกิด AF เมื่อผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น.

วิธีการศึกษา : มีจำนวนผู้เข้าร่วมในการศึกษา 903 ราย ในระหว่างกลุ่มอายุ 40 ถึง 59 ปี ประกอบด้วยกลุ่มที่มี และไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยเป็นผู้ที่ถูกคัดเลือกให้เข้าในการศึกษา the Oulu Project Elucidating Risk of Atherosclerosis (OPERA) study โดยได้มีการวัด ABP monitoring ตลอดจนการตรวจร่างกาย และได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ.

ผลการศึกษา: ระยะเวลาการติดตามเฉลี่ย 16.4 +/- 3.6 ปี , มีผู้เข้าร่วมในการศึกษา จำนวน 91 ราย (คิดเป็นร้อยละ 10) มีการเกิด new-onset AF ที่ต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งแบบไปที่ห้องฉุกเฉิน หรือห้องตรวจแบบผู้ป่วยนอก. จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของการวัดความดันโลหิตประเภท ABP พบว่า ค่าเฉลี่ยของความดันซิสโตลิก ในเวลากลางคืน (nighttime systolic blood pressure) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์รุนแรงที่สุด ในการเกิด AF (120.8 +/- 15.9 vs 116.4 +/- 14.1 มิลลิเมตรปรอท , P = 0.006 ในกลุ่มที่เกิด และไม่เกิด ภาวะ AF). เมื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยการทำนายการเกิด AF แบบ univariable เช่น อายุ , เพศ , ดัชนีมวลกาย , ความสูง , ประวัติการสูบบุหรี่ , alanine aminotransferase , uric acid และ fasting plasma glucose โดยนำไปวิเคราะห์ต่อใน multivariable Cox hazards model พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (P < 0.001) และ ค่าดัชนีมวลกาย (P = 0.014). ค่า Hazards ratio เท่ากับ 1.07 ต่อทุกๆการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิต 5 มิลลิเมตรปรอท , 95% confidence interval = 1.004-1.15 , P = 0.038.

สรุป : จากค่าในการวัด ABP พบว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิกในเวลากลางคืน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ในระยะยาว ต่ออุบัติการณ์การเกิด new-onset AFที่มีความจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล.

(ขอบคุณภาพประกอบ จาก images.medicinenet.com//images/slideshow/atrial-fibrillation-s1-photo-of-atrial-fibrillation.jpg)