Hypertension Update
Effect of Intensive Versus Standard Clinic-Based Hypertension Management on Ambulatory Blood Pressure 2202 View(s)
Effect of Intensive Versus Standard Clinic-Based Hypertension Management on Ambulatory Blood Pressure. Results from the SPRINT (Systolic Blood Pressure Intervention Trial) Ambulatory Blood Pressure Study.

โดย Paul E. Drawz และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2017;69:42-50.

บทคัดย่อ : ผลของของการรักษาความดันโลหินสูงแบบเข้มงวดที่คลินิก (clinic-based intensive hypertension treatment) ต่อระดับความดันโลหิต แบบ ambulatory ยังไม่ทราบแน่ชัด. เป้าหมายของการศึกษา the SPRINT (Systolic Blood Pressure Intervention Trial) ambulatory BP ancillary study เพื่อประเมินผลของการรักษาความดันโลหิตสูงที่คลินิก แบบเข้มงวด (intensive) เปรียบเทียบกับการรักษาแบบมาตรฐาน (standard) ต่อค่าความดันโลหิตแบบ ambulatory โดยความดันโลหิตแบบ ambulatory ได้ทำการวัดเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ในผู้ป่วยจำนวน 897 รายในการศึกษาหลัก SPRINT

พบว่าการควบคุมความดันโลหิตแบบเข้มงวด ทำให้มีการลดลงของ clinic systolic BP (mean difference= 16.0 mmHg; 95% confidence interval, 14.1-17.8 mmHg),
nighttime systolic BP (mean difference= 9.6 mmHg; 95% confidence interval, 7.7-11.5 mmHg), daytime systolic BP (mean difference= 12.3 mmHg; 95% confidence interval, 10.6-13.9 mmHg), และ 24-hour systolic BP (mean difference= 11.2 mmHg; 95% confidence interval, 9.7-12.8 mmHg).

อัตราส่วน night/day systolic BP มีความคล้ายคลึงกันในระหว่างกลุ่ม intensive (0.92 +/- 0.09) และ standard (0.91 +/- 0.09).

สรุป ผลการศึกษา พบว่า การรักษาความดันโลหิตสูงแบบเข้มงวดที่มีเป้าหมาย ความดันซิสโตลิก น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายมาตรฐานที่ น้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท พบว่า มีการลดลงที่มากกว่าใน ด้านความดันโลหิต nighttime , daytime และ 24-hour systolic BP.
แต่พบว่าไม่มีความแตกต่างของ อัตราส่วน night/day systolic BP.

ข้อเสนอแนะ ว่าการประเมิน ambulatory BP อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจเพื่อประเมินผลการรักษาความดันโลหิต นอกเหนือไปจากการวัดความดันที่ office.

(ภาพประกอบจาก thebravocompany.com)