Hypertension Update
Obstructive Sleep Apnea With Objective Daytime Sleepiness Is Associated With Hypertension 2199 View(s)
Obstructive Sleep Apnea With Objective Daytime Sleepiness Is Associated With Hypertension.

โดย Rong Ren และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension 2016;68:1264-1270.

บทคัดย่อ
อาการง่วงนอนในเวลากลางวัน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย obstructive sleep apnea (OSA).

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาผลต่อโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยโรค OSA และอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน โดยการประเมิน mutiple sleep latency test (MSLT).

ผู้ป่วยโรค OSA ชาวจีน จำนวน 1,338 คน และ ผู้ที่มีอาการนอนกรน ชนิด primary snoring จำนวน 484 คน ได้เข้าร่วมในการศึกษานี้ โดยผู้เข้าร่วมในการศึกษาทุกราย ได้รับการตรวจ polysomnography 1 คืน และทำแบบประเมิน MSLT.

การประเมิน MSLT จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ มากกว่า 8 นาที , 5 ถึง 8 นาที และ น้อยกว่า 5 นาที.

ผลการศึกษา ภายหลังจากควบคุมปัจจัยรบกวน พบว่า OSA ร่วมกับ MSLT ระดับ 5 ถึง 8 นาที มีความสัมพันธ์ของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 95. (odd ratio, 1.95; 95 % confidene interval, 1.10 - 3.46)

ในขณะที่ OSA ร่วมกับ MSLT ระดับ น้อยกว่า 5 นาที มีความสัมพันธ์ของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 111 (odd ratio, 2.11; 95 % confidene interval, 1.22 - 3.31) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่นอนกรน ชนิด primary snoring ที่มีคะแนน MSLT มากกว่า 8.

ในการวิเคราะห์ระดับกลุ่ม พบว่า มีความสัมพันธ์ ระหว่างโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการประเมิน MSLT ในผู้ป่วย OSA ทั้งในทุกเพศ , กลุ่มอายุน้อย , ทั้งอ้วน หรือไม่อ้วน และทั้งผู้ที่มี หรือไม่มีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน

ผู้ทำการศึกษาได้สรุปว่า อาการง่วงนอนในเวลากลางวัน มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วย OSA.

Image:http://img.webmd.com/dtmcms/live/webmd/consumer_assets/site_images/media/medical/hw/h9991647_001.jpg