Hypertension Update
Prognostic Value of C-Reactive Protein in Resistant Hypertension 2241 View(s)
Prognostic Value of C-Reactive Protein in Resistant Hypertension

โดย Arthur Fernandes Cortez และคณะ

วารสารวิชาการ American Journal of Hypertension 29(8) August 2016;992.

บทคัดย่อ
ที่มา:
C-reactive protein (CRP) เป็นสารบ่งชี้การอักเสบของร่างกาย (systemic low-grade inflammation) และเป็นสารพยากรณ์ความเสี่ยงของโรคระบบหัวใจหลอดเลือดในหลายๆสภาวะทางคลินิก. แต่อย่างไรก็ตามสารนี้ยังไม่เคยมีการทดสอบในผู้ป่วยโรค resistant hypertension.

วิธีการ:
การศีกษาชนิด prospective ประกอบด้วยผู้ป่วย resistant hypertension จำนวน 476 ราย ได้รับการตรวจระดับ CRP ที่เวลาตั้งต้น ร่วมกับการตรวจในส่วนอื่นๆด้วย ได้แก่ ความดันโลหิตชนิด ambulatory (BPs).

Primary endpoint ได้แก่ composite ของ major fatal หรือ nonfatal cardiovascular events, all-cause mortalityและ cardiovascular mortality.

ผู้ศึกษาได้ทำการประเมิน multiple Cox regression เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับ CRP กับ end points ต่างๆ.

ผลการศึกษา:
ค่ามัธยฐานของระดับ CRP เท่ากับ 3.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (interquartile range; 2.0 - 7.2 มิลลิกรัมต่อลิตร). ภายหลังจากการติดตาม ที่่ค่าการติดตามมัธยฐาน 9 ปี , พบมี major cardiovascular events 103 ราย , พบมีผู้ป่วยเสียชีวิต 120 ราย โดยจำแนกเป็นสาเหตุจาก ระบบโรคหัวใจหลอดเลือด 62 ราย.

ภายหลังจากการปรับปัจจัยรบกวน ซึ่งประกอบด้วย traditional cardiovascular risk factors , ambulatory BP และ dipping pattern พบว่า ผู้ป่วยที่มีระดับ CRP มากกว่าค่ามัธยฐาน พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิด major cardiovascular events ถึงสองเท่า (95% confidence interval[CI]: 1.29-3.06; P=0.002) และพบว่าร้อยละ 86 มีความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจหลือดเลือด (95% CI: 1.07-3.25; P=0.029)

ในทางเดียวกัน ผู้ป่วยที่มีระดับ CRP สูง จะมีค่าการพยากรณ์การเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (hazard ratio: 2.04; 95% CI 1.10-3.76; P= 0.023) และโรคหลอดเลือดสมอง (hazard ratio: 2.72; 95% CI 1.30-5.67; P= 0.007).

ผู้ทำการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ interaction และ sensitivity พบว่า ค่า CRP มีค่าการพยากรณ์ที่รุนแรง สำหรับการเกิด ภาวะแทรกซ้อนโรคหัวใจหลอดเลือด ในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีภาวะอ้วน และไม่สามารถควบคุมระดับความดันชนิด ambulatory ได้และเป็นชนิด nondipping pattern.

สรุป:
ผู้ป่วยที่มีภาวะ resistant hypertension การมีค่า CRP สูง เป็นปัจจัยพยากรณ์ที่แย่ สำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคหัวใจหลอดเลือด นอกเหนือไปจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ประกอบด้วย ระดับความดันโลหิต ชนิด ambulatory และ dipping patterns.

credit image: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6f/PDB_1b09_EBI.jpg/250px-PDB_1b09_EBI.jpg