Hypertension Update
2194 View(s)
Change in Intra-abdominal Fat Predict the Risk of Hypertension in Japanese Americans.

โดย Catherine A. Sullivan และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2015;66:134-140.

บทคัดย่อ
ในประชากร Japanese Americans พบว่า ปริมาณ intra-abdominal fat จากการวัดด้วยเครื่อง computed tomography (CT) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับความชุก และอุบัติการณ์ การเกิดโรคความดันโลหิตสูง.อุบัติการณ์ในประชากรกลุ่มอื่นๆ แนะนำว่า พื้นที่ไขมันบริเวณส่วนอื่น อาจจะเป็นปัจจัยในการป้องกัน.
วัตถุประสงค์ของการศึกษาได้แก่ การวัดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของไขมันในบริเวณที่จำเพาะ อาจทำนายการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ จำนวนผู้เข้าร่วมในการศึกษา 286 คน (อายุเฉลี่ย 49.5 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.4) จากฐานข้อมูลชุมชน Japanese American Community Diabetes Study ติดตามเป็นระยะเวลา 10 ปี. ในเบื้องต้น ผู้เข้าร่วมการศึกษา ไม่ได้เป้นโรคความดันโลหิตสูง (นิยาม ความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท) และไม่ได้รับประทานยาลดความดันโลหิต หรือยาลดน้ำตาลในเลือด

พื้นที่ไขมันบริเวณ mid-thigh subcutaneous fat , บริเวณ abdominal subcutaneous fat , และ บริเวณ intra-abdominal fat ได้รับการประเมินโดยเครื่อง CT ที่เริ่มต้น และที่ระยะเวลา 5 ปี.

ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ logistic regression เพื่อประเมิน odds ของอุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูงที่มากกว่าระยะเวลา 10 ปี จากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ไขมัน ที่ระยะเวลา 5 ปี. พบว่า relative odds ของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ไขมัน ที่ระยะเวลา 5 ปี ได้แก่ 1.74 (95 % confidence interval, 1.28 - 2.37) โดยได้ทำการปรับในปัจจัย เรื่อง อายุ, เพศ, ดัชนีมวลกาย, ไขมัน intra-abdominal fat เริ่มต้น, การดื่มแอล์กอฮอล์, การสูบบุหรี่ และ weekly exercise enerygy expenditure.

ค่าความสัมพันธ์ดังกล่าว ยังคงมีความสำคัญ ภายหลังจากปรับเรื่องปัจจัยของ ค่า fasting insulin ตั้งต้น และ ค่า glucose ที่ระยะเวลา 2 ชั่วโมง สำหรับ diabetes mellitus และ
pre-diabetes mellitus classification.

พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่าง ค่าตั้งต้น และค่าเปลี่ยนแปลง ของไขมันบริเวณ thigh และ abdominal subcutaneous fat ต่ออุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง

สรุป จากการศึกษาแบบ cohort ในประชากร Japanese American พบความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กับการสะสมของ intra-abdominal fat มากกว่า
accrual subcutaneous fat ทั้งบริเวณ thigh และ abdominal areas.