Hypertension Update
Optimal Systolic Blood Pressure Target, Time to Intensification, and Time to Follow-up in Treatment of Hypertension 2198 View(s)
Optimal Systolic Blood Pressure Target, Time to Intensification, and Time to Follow-up in Treatment of Hypertension : Population Based Retrospective Cohort Study.
โดย Wenxin Xu และคณะ
วารสารวิชาการ BMJ 2015;350:h158.

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : (1) เพื่อศึกษาเป้าหมายในการรักษาที่เหมาะสม ของระดับความดันซิสโตลิก ต่อการเพิ่มรายการยาลดความดันโลหิตอันใหม่ หรือ เพิ่มปริมาณยาตัวเดิม (systolic intensification threshold) , (2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการล่าช้าในการเพิ่มยารักษา และการติดตามต่อ
ความเสี่ยงต่อภาะวะแทรกซ้อนด้านระบบหัวใจหลอดเลือดหรือการตาย.

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ Retrospective cohort

ภาวะ : การรักษาระดับปฐมภูมิในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1986 ถึง 2010

ผู้ที่เข้าร่วมในการศึกษา : ผู้ป่วยผู้ใหญ่ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 88,756 ราย จาก The Health Improvement Network nationwide primary care research database.

การวัดผล : อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันด้านหัวใจหลอดเลือด หรือการตายจากทุกสาเหตุ สำหรับผู้ป่วยที่มีความแตกต่างในวิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูง (นิยามโดย systolic intensification threshold, time to intensification และ time to follow-up
ภายหลังจากการรักษา 10 ปี) ภายหลังจากการปรับปัจจัย ได้แก่ อายุ , เพศ , การสูบบุหรี่ , ภาวะด้านเศรษฐสถานะ , การเป็นเบาหวาน หรือ โรคหัวใจหลอดเลือด หรือ โรคไตเรื้อรัง , Charison comorbidity index , ดัชนีมวลกาย , medication possession ratio และ ระดับความดันโลหิตพื้นฐาน

ผลการศึกษา : ระยะเวลาการติดตาม มัธยฐาน 37.4 เดือน ภายหลังจากการประเมินกลยุทธ์ในการรักษา พบว่าผู้ป่วยจำนวน 9,985 ราย (ร้อยละ 11.3) มีภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจหลอดเลือด หรือตาย. ไม่พบความแตกต่างในด้านความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก 130 ถึง 150มิลลิเมตรปรอท , ในขณะที่ ระดับความดันโลหิตซิสโตลิกที่มากกว่า 150 มิลลิเมตรปรอท จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน (hazard ratio 1.21, 95 % cofidence interval[CI] 1.13 ถึง 1.30; P < 0.001 สำหรับ intensification threshold ที่ 160 มิลลิเมตรปรอท)

ผลต่อความเสี่ยงในการเพิ่มขึ้นของการดำเนินโรค จากน้อยที่สุด (0 ถึง 1.4 เดือน) ถึงมากที่สุด the highest fifth of time to medication intensification (hazard ratio 1.12, 95 % CI 1.05 ถึง 1.20 ; P = 0.009 สำหรับ intensification ระหว่าง 1.4 และ 4ระหว่าง 1.4 และ 4.7 เดือนภายหลังจากตรวจพบระดับความดันโลหิตสูง). The highest fifth ของ time to follow up (มากกว่า 2.7 เดือน) มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงภาะแทรกซ้อน
(hazard ratio 1.18, 95 % CI 1.11 ถึง 1.25 ; P < 0.001)

สรุป : systolic intensification thresholds มากกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิเมตรปรอท , การล่าช้าในการให้การรักษามากกว่า 1.4 เดือนก่อนการปรับยา ภายหลังจากที่ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น และการล่าช้าในการรักษามากกว่า 2.7 เดือนก่อนการติดตามภายหลังจากการปรับยา มีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจหลอดเลือด และการตาย. จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระยะเวลาในการปรับยาและระยะเวลาในการติดตามการรักษา ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง