Hypertension Update
รายงานทางระบาดวิทยาของภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ไทย 2198 View(s)
ตัวอย่างรายงานในประชากรไทย

รายงานทางระบาดวิทยาของภาวะความดันโลหิตสูในหญิงตั้งครรภ์และแรกคลอด ในประเทศไทย
โดย Phupradit W และคณะ
วารสารวิชาการ J Med Assoc Thai 1993 Apr; 76(4): 196-202.

การศึกษาด้านระบาดวิทยาในประเทศไทย ภายใต้แนวทางขององค์การอนามัยโลก สำหรับข้อมูลภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์. การศึกษาแบบไปข้างหน้า โดยการเก็บข้อมูลความดันโลหิต , ภาวะโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ และภาวะบวม ในหญิงตั้งครรภ์จำนวน 4,126 คน โดยวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์. ความชุกของมารดาที่มีค่าความดันโลหิตดัยแอสโตลิกในระหว่างตั้งครรภ์มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท พบประมาณร้อยละ 20. ภาวะความดันโลหิตสูง ร่วมกับภาวะบวม หรือภาวะมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ พบได้ประมาณ ร้อยละ 6 ของการตั้งครรภ์ และปัจจัยดังกล่าวนั้นส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของภาวะลูกคลอดที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบว่ามีผลต่อภาวะ perinatal death อย่างมีนัยสำคัญ.

จากการศึกษานี้ พบอุบัติการณ์ของภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง (eclampsia) พบไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะความดันโลหิตสูงของหญิงตั้งครรภ์ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมารดาอันดับสอง.