Hypertension Update
Rapid Blood Pressure Lowering in Patients with Acute Intracerebral Hemorrhage 2198 View(s)
Rapid Blood Pressure Lowering in Patients with Acute Intracerebral Hemorrhage

โดย Craig S. Anderson และคณะ for the INTERACT 2 Investigators.

วารสารวิชาการ N Eng J Med 2013;368:2355-65

บทคัดย่อ
ที่มา : ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที้ชัดเจนว่า การลดความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว ต่อความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นสูง ในกลุ่มผู้ป่วยเลือดออกในสมอง ว่าจะมีผลดีต่อการรักษา หรือไม่

วิธ๊การศึกษา : โดยได้ทำวิธีการสุ่่มผู้ป่วยจากจำนวน 2,839 คนที่มีภาวะ spontaneous intracerebral hemorrhage ภายในระยะเวลา 6 ชั่วโมง ซึ่งมีระดับความดันโลหิตซิสโตลิกที่สูง ให้ได้รับการรักษาลดระดับความดันโลหิต ให้คงเหลือน้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง (intensive treatment) หรือ ให้ได้รับการรักษาตามคำแนะนำเดิม (คือให้ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก ไม่เกิน 180 มิลลิเมตรปรอท) (guideline-recommended treatment) โดยใช้ยาตามแนวทางของแพทย์แต่ละบุคคล.
ผลการศึกษาหลัก (primary outcome) ได้แก่ การตาย หรือ ความพิการแบบ major disability โดยให้คำนิยาม และเกณฑ์การวินิจฉัยโดย modified Rankin scale ระดับคะแนน 3 ถึง 6 (โดยถ้าคะแนน 0 คือ ไม่มีอาการ , คะแนน 5 คือ severe disability และ คะแนน 6 คือตาย) ที่ระยะเวลา 90 วัน. โดยได้มีการวิเคราะห์ prespeicified ordinal analysis ของ modified Rankin scale ด้วย ได้ทำการเปรียบเทียบ serioud adverse events ระหว่างทั้ง 2 กลุ่มด้วย

ผลการศึกษา : จำนวนผู้ป่วยที่สามารถประเมินผล primary outcome ได้จำนวน 2,794 คน จำแนกกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบ intensive treatment พบร้อยละ 52.0 (จำนวนผู้ป่วย 719 คนจาก 1,382 คน) เปรียบเทียบกับกลุ่ม guideline-recommended treatment พบร้อยละ 55.6 (จำนวนผู้ป่วย 785 คนจาก 1,412 คน) (odd ratio เมือเปรียบเทียบกับ intensive treatment เท่ากับ 0.87; 95% confidence interval [CI], 0.75-1.01; p 0.06) เมื่อทำการวิเคราะห์แบบ ordinal analysis พบว่ามีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าคะแนน modfied Rankin ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบ intensive treatment
(odd ratio สำหรับ greater disability เท่ากับ 0.87, 95%CI เท่ากับ 0.77-1.00; P เท่ากับ 0.04) อัตราการตาย เท่ากับ ร้อยละ 11.9 ในกลุ่มที่ได้รับ intensive treatment และ ร้อยละ 12.0 ในกลุ่มที่ได้รับ guideline-recommended treatment. Nonfatal sereious adverse event เท่ากับ ร้อยละ 23.3 และ ร้อยละ 23.6 ในทั้งสองกลุ่มตามลำดับ

สรุป
ในผู้ป่วย intracerebral hemorrhage พบว่าการลดระดับความดันโลหิตอย่างรวดเร็วแบบ intensive ไม่มีความแตกต่างในการลดลงของ primary outcome ของการตาย หรือ severe disability อย่างมีนัยสำคัญ แต่จากการวิเคราะห์ modified Rankin scores แบบ ordinal analysis พบว่าการรักษาแบบ intensive ช่่วย improve functional outcomes ได้มากกว่า.