Hypertension Update
Association of Alcohol Consumption With Incident Hypertension Among Middle-Aged and Older Japanese Population 2206 View(s)
Association of Alcohol Consumption With Incident Hypertension Among Middle-Aged and Older Japanese Population.
The Ibarakai Prefectural Health Study (IPHS).

โดย Yoshiro Okubo และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2014;63:41-47.

บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพือทดสอบผลของอายุ ต่อความสัมพันธ์ของการบริโภคแอลกอฮอล์ ต่ออุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูงในประชากรคนญี่ปุ่นทั่วๆไป.การศึกษาชนิดไปข้างหน้า (cohort) มีประชากรญี่ปุ่นเพศชาย จำนวน 37,310 คน และเพศหญิง จำนวน 78,426 คน มีอายุตั้งแต่ 40 ถีง 79 ปี ได้ทำการเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1993 ถึง 2004. โดยประชากรกลุ่มนี้ยังไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และได้มีการตรวจติดตามประจำปี ประกอบด้วยการวัดความดันโลหิต จนกระทั่งสิ้นสุดในปี ค.ศ.2010. การเกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้ให้คำนิยามว่า ความดันโลหิตซิสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรประหลอด , ความดันดัยแอสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท หรือได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต. Hazard ratios สำหรับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จากปัจจัยการบริโภคแอลกอฮอล์ ได้ถูกวิเคราะห์โดยวิธี Cox proportional hazard model.
จากประชากรทั้งหมด จำนวน 45,428 ราย พบว่าร้อยละ 39.3 เกิดโรคความดันโลหิตสูง (เพศชาย จำนวน 16,155 คน และเพศหญิง จำนวน 29,273 คน) สำหร้บระยะเวลาการติดตามเฉลี่ย 3.9 (1-18) ปี. มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างการบริโภคแอลกอฮอล์ ต่ออุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง พบในทั้งสองเพศ ทั้งสองกลุ่มอายุ (P for trend น้อยกว่า 0.001 ในเพศชาย อายุ 40-59 ปี และ 60-79 ปี; 0.004 ในเพ หญิง อายุ 40-59 และ 0.026 ในกลุ่มอายุ 60-79 ปี).

สรุป ผลการศึกษานี้สนับสนุนว่าการบริโภคแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยเสี่ยงประการหนึ่งของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในทั้งสองเพศ ของกลุ่มอายุวัยกลางคนและสูงอายุ.