Hypertension Update
บทคัดย่อ Ambulatory Blood Pressure Values in the Ongoing Telmisartan Alone and in Combination with Ramipril Global Endpoint Trial (ONTARGET) (Hypertension.2012;60:1400-1406) 2198 View(s)

บทคัดย่อ Ambulatory Blood Pressure Values in the Ongoing Telmisartan Alone and in Combination with Ramipril Global Endpoint Trial (ONTARGET)

โดย Giuseppe Mancia และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension. 2012;60:1400-1406.

บทคัดย่อ 

การศึกษา in the Ongoing Telmisartan Alone and in Combination with Ramipril Global Endpoint Trial (ONTARGET) 

โดยกลุ่มที่ได้รับยา Telmisartan (T) 80 มิลลิกรัมต่อวัน และ กลุ่มที่ได้รับยา Ramipril 10 มิลลิกรัมต่อวัน นั้น พบว่า มีค่าการลดลงของความดันโลหิต ตลอดจน อุบัติการณ์เกิดโรคในระบบหัวใจหลอดเลือด และโรคไตที่คล้ายคลึงกัน. 

สำหรับกลุ่มที่ได้รับทั้งยาทั้งสองตัว (R+T) นั้นพบว่ามีค่าการลดลงของความดันโลหิตที่มากกว่า แต่ ไม่พบว่ามีการเพิ่มขึ้นในการป้องกันโรคระบบหัวใจหลอดเลือด และโรคไต. 

ในการศึกษาย่อยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันที่วัดที่คลินิกที่มากกว่าในกลุ่มที่ได้รับยารวม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันที่ติดตามตลอด 24 ชั่วโมง 

และอาจมีผลต่อการพยากรณ์โรคที่ดีกว่า.

 

จำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 422 ราย ที่ได้รับการติดตามระดับความดัน 24 ชั่วโมง ก่อนและหลังได้รับการรักษาเป็นระยะเวลา 6 ถึง 24 เดือน โดยมีค่าลักษณะ demographic และ clinical characteristics ที่คล้ายคลึงกันทั้ง 3 กลุ่ม.

พบว่าค่าความดันซิสโตลิก ในการวัดความดัน 24 ชั่วโมง ลดลงในกลุ่มที่ได้รับยา R และ T 2.0 และ 2.1 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ ในขณะที่ในกลุ่มที่ได้รับยา T + R ลดลง 5.3 มิลลิเมตรปรอท 

โดยแสดงให้เห็นถึงการลดลงของระดับความดันโลหิตที่มากกว่า และในทำนองเดียวกันกับ กลุ่มผู้ป่วยเพิ่มเติม จำนวน 408 ราย ที่ได้รับการวัดความดัน 24 ชั่วโมง ภายหลังที่ได้รับการรักษา. 

ค่าความดันซิสโตลิก ในการวัดความดัน 24 ชั่วโมง มีค่าต่ำกว่าค่าความดันซิสโตลิกที่วัดที่คลินิก ประมาณ 14 มิลลิเมตรปรอท. ผลของค่าความดันดัยแอสโตลิกนั้นมีความคล้ายคลึงกัน. 

 

สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันในความสัมพันธ์ของค่าความดันโลหิตที่วัดที่คลินิก และที่วัดจากการติดตาม 24 ชั่วโมง. 

และในการศึกษา ONTARGET  นั้น การล้มเหลวในการป้องกันโรคระบบหัวใจหลอดเลือด และโรคไตของกลุ่มที่ได้รับยาทั้งสองตัว (R+T) นั้น 

ไม่ได้มีเหตุจากการไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย.