Hypertension Update
Level of Systolic Blood Pressure Within the Normal Range and Risk of Recurrent Stroke (JAMA 2011;306(19):2137-2144) 2234 View(s)

Level of Systolic Blood Pressure Within the Normal Range and Risk of Recurrent Stroke
โดย Bruce Ovbiagele และคณะ
วารสาร JAMA 2011;306(19):2137-2144

บทคัดย่อ
คำแนะนำในการป้องกันการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แนะนำให้ลดระดับความดันซิสโตลิก โดยระดับความดันซิสโตลิกที่ปกติ ได้แก่ ความดันซิสโตลิก ที่น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท. แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในความสัมพันธ์ระหว่างการักษาระดับความดันซิสโตลิก กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด ภายหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ.

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรักษาระดับความดันโลหิตให้ต่ำถึงปกติ (low-normal)  กับ ปกติถึงสูง (high-normal) ในการเป็นปัจจัยเสี่ยงของการ เกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีการศึกษา
การวิเคราะห์ post hoc observational ในการศึกษาแบบ multicenter จำนวนผู้ป่วย 20,330 คน ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบแบบ non-cardioemboic. ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการคัดเลือกจาก 695 เซ็นเตอร์ ใน 35 ประเทศ ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ.2003
ถึง เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2006 และติดตามต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2.5 ปี โดยการติดตามสิ้นสุดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2008. ผู้ป่วยในการศึกษาได้ถูกจำแนกออกเป็นกลุ่มตามระดับค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตซิสโตลิก ได้แก่ very low-normal (น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท), low-normal (120 ถึง น้อยกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท), high-normal (130 ถึง น้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท)
, high (140 ถึง น้อยกว่า 150 มิลลิเมตรปรอท) และ very high (มากกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิเมตรปรอท)

การวัดผลการศึกษา
ผลการศึกษาหลัก (primary outcome)ได้แก่ การเกิดซ้ำครั้งแรกของโรคหลอดเลือดสมองประเภทต่างๆ ผลการศึกษารอง (secondary outcome) ได้แก่ composite ของ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) , โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (myocardial infarction), หรือ การตาย (death) จากโรคระบบหลอดเลือด.

ผลการศึกษา
อัตราการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยกลุ่ม very-low normal SBP เท่ากับ ร้อยละ 8 (95%CI, ร้อยละ 6.8 ถึง ร้อยละ 9.2).
ในผู้ป่วยกลุ่ม low-normal SBP เท่ากับ ร้อยละ 7.2 (95%CI, ร้อยละ 6.4 ถึง ร้อยละ 8.0).
ในผู้ป่วยกลุ่ม high-normal SBP เท่ากับ ร้อยละ 6.8 (95%CI, ร้อยละ 6.1 ถึง ร้อยละ 7.4).
ในผู้ป่วยกลุ่ม high SBP เท่ากับ ร้อยละ 8.7 (95%CI, ร้อยละ 7.9 ถึง ร้อยละ 9.5).
ในผู้ป่วยกลุ่ม very high SBP เท่ากับ ร้อยละ 14.1 (95%CI, ร้อยละ 13.0 ถึง ร้อยละ 15.2).

เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม high-normal SBP พบว่าเกิด ความเสี่ยงในการเกิดผลแทรกซ้อนหลัก (primary outcome) ที่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบดังกล่าว ได้แก่ กลุ่ม very low normal SBP (adjusted hazard ratio [AHR], 1.29; 95%CI, 1.07 - 1.56), กลุ่ม high SBP (AHR, 1.23; 95%CI, 1.07 - 1.41),และในกลุ่ม very high SBP  (AHR, 2.08 ; 95%CI, 1.83 - 2.37)

เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม high-normal SBP พบว่าเกิด ความเสี่ยงในการเกิดผลแทรกซ้อนรอง (secondary outcome) ที่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบดังกล่าวได้แก่ กลุ่ม very low normal SBP (AHR , 1.31; 95%CI, 1.13 - 1.52), กลุ่ม low normal SBP (AHR , 1.16; 95%CI, 1.03 - 1.31)
, กลุ่ม high SBP (AHR, 1.24 ; 95%CI, 1.11 - 1.39), กลุ่ม very high SBP (AHR, 1.94 ; 95%CI, 1.74 - 2.16)

สรุป
ในกลุ่มผู้ป่วยที่เพิ่งเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ชนิด non-cardioembolic ischemic stroke , ระดับความดันซิสโตลิกระหว่างการตรวจติดตาม ในกลุ่ม very low-nomal (< 120 มิลลิเมตรปรอท), กลุ่ม high (140 - <150 มิลลิเมตรปรอท) หรือ กลุ่ม very high (>/= 150 มิลลิเมตรปรอท)
มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง.