Hypertension Update
บทคัดย่อ Uric Acid Level and Atrial Fibrillation in Hypertensive Patients (Intern Med 50:799-803,2011) 2201 View(s)

Uric Acid Level and Atrial Fibrillation in Hypertensive Patients

โดย Tong Liu และคณะ

Intern Med 50:799-803,2011

วัตถุประสงค์
กรดยูริก เป็นตัวบ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีความสัมพันธ์กับ oxidative stress และ การอักเสบ.  โรค atrial fibillation (AF) พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะอักเสบ และ oxidative stress ด้วย.  การศึกษาเป็นการศึกษาแบบ observational มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกรดยูริก และ atrial fibrillation ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง.

วิธีการศึกษาวิจัย
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ได้รับการคัดกรอง โดยทำการคัดออก ในกลุ่มที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (coronary artery disease) , มีโรคหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure), โรคเบาหวาน, โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart disease)
, โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy), โรคไตวาย, การมีสภาวะอักเสบ, โรคต่อมธัยรอยด์, โรคระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยที่รับประทานยา ที่มีผลต่อเมตาบอลิซึ่มของกรดยูริก (รวมทั้งยาขับปัสสาวะด้วย).
โดยได้ผู้ป่วยที่สามารถเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 451 คน. ทั้งนี้มีผู้ป่วยจำนวน 50 คน (คิดเป็นร้อยละ 11) ที่เป็นโรค atrial fibrillation จำแนกเป็น  paroxysmal AF 38 คน, persistent AF 8 คน และ permanent AF 4 คน. ได้ทำการบันทึกข้อมูล dermographic , อาการทางคลินิก, การตรวจทางห้องปฎิบัติการ และลักษณะทาง echocardiogram.

ผลการศึกษา
ภายหลังจาการทำการวิเคราะห์แบบ univariate ปัจจัยอายุ, ระยะเวลาการเป็นโรคความดันโลหิตสูง, ค่า serum creatinine, ค่า serum uric acid , เส้นผ่านศูนย์กลางของ left atrium, ความหนาของ interventricular septum และ ความหนาของ left ventricular posterior wall ว่ามีค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่มผู้ป่วย AF มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรค AF แต่พบว่าระดับ estimated glomerular filtration (eGFR) ในกลุ่ม AF ต่ำว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็น AF  ภายหลังจากการวิเคราะห์แบบ multivariate logistic regression พบว่าปัจจัยพยากรณ์ independent ต่อโรค AF  ได้แก่ ระดับ serum uric acid  (OR: 1.008; 95%CI: 1.003-1.013, p=0.002). และ  เส้นผ่านศูนย์กลางของ left atrium (OR:1.160; 95%CI 1.068-1.260; p<0.001).

สรุป
ผู้ทำการศึกษาได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มขึ้นของกรดยูริกในเลือด และโรค atrial fibrillation ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง.  แต่อย่างไรก็ตามต้องการการศึกษาที่มีขนาดใหญ่ และทำในประชากรที่แตกต่างกัน เพื่อศึกษาในความสัมพันธ์ดังกล่าว.

Click To View Full Sized Image
บทคัดย่อ Uric Acid Level and Atrial Fibrillation in Hypertensive Patients (Intern Med 50:799-803,2011) (PDF File)