Hypertension Update
Understanding barriers to medication adherence in the hypertensive population by evaluating responses to a telephone survey. 2193 View(s)

โดย Kavita V Nair และคณะ
วารสารวิชาการ Patient Preference and Adherence 2011;5:195-206.


ที่มา
แม้ว่าโรคความดันโลหิตสูงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด, พบว่าความต่อเนื่องในการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ต่ำ.การศึกษาที่ผ่านมานั้นค่อนข้างกว้างและเป็นเรื่องของประชากรกลุ่มใหญ่ๆ. การค้นหาปัจจัยที่มีผลส่วนบุคคลนั้นมีความสำคัญในการค้นหาแนวทางในการรักษา.
ในการศึกษานี้ใช้วิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เพื่อหาปัจจัยแต่ละบุคคลที่มีผลต่อความต่อเนื่องในการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต.

วิธีการศึกษา
การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยจำนวน 8,692 คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่รักษาด้วยยาไม่ต่อเนื่อง. กลุ่มตัวอย่างนั้นเลือกจากผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้งในปีค.ศ.2008. เน้นกลุ่มเป้าหมายยังผู้ป่วยที่ไม่ได้กินยาสม่ำเสมอ medication possession ration [MPR] น้อยกว่า ร้อยละ 80 ใน่ระยะเวลา 4 เดือนของการศึกษา.

ผลการศึกษา
อัตราการตอบสนอง ของกลุ่มตัวอย่างทั้งอยู่ อยู่ที่ร้อยละ 28.2 (จำแนกเป็นกลุ่ม commercial members ร้อยละ 63.8 , กลุ่ม medicare members ร้อยละ 37.2). อายุ เฉลี่ยเท่ากับ 63.4 ปี. ค่าเฉลี่ย MPR เท่ากับ ร้อยละ 61.0.  การรายงาน missing a dose of medication เท่ากับ ร้อยละ 58.2 และ 60.4 ในกลุ่ม medicare respondents และกลุ่ม commercial members ตามลำดับ.เหตุผลหลักที่ทำให้การกินยาไม่ต่อเนื่องได้แก่ การลืม (forgetfullness) พบร้อยละ 61.8 และ 60.8 ในกลุ่ม medicare และกลุ่ม commercial ตามลำดับ. เหตุผลถัดมาได้แก่ ยุ่งเกินไป (being too busy) พบร้อยละ 2.7  และ 18.5 ในกลุ่ม medicare และกลุ่ม commercial ตามลำดับ. และเหตุผลอื่นๆ (other reasons) ร้อยละ 21.9  และ 8.1 ในกลุ่ม medicare และกลุ่ม commercial ตามลำดับ
(ประกอบด้วย การเดินทาง,  การนอนโรงพยาลบาลหรือการเจ็บป่วย, การถูกรบกวนของกิจวัตรประจำวัน และความไม่สามารถไม่ร้านยาได้). พบว่า เหตุผลการร่วมจ่ายเงินค่ารักษา พบไม่ถึงร้อยละ 5.

สรุป
จากการศึกษานี้พบว่า การถูกรบกวนในชีวิตประจำวัน มีความสำคัญต่อความต่อเนื่องในการกินยาลดความดันโลหิต. ความต่อเนื่องในการใช้ยาควรเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมประจำวัน และควรมีระบบการเตือนไม่ให้ลืมกินยา. ผู้ให้บริการทางการแพทย์ควรเข้าถึงข้อมูลชีวิตประจำวันของผู้ป่วยแต่ละคน และความสามารถในการกินยาเพื่อปรับปรุงแนวทางการให้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย.

Understanding barriers to medication adherence in the hypertensive population by evaluating responses to a telephone survey. (PDF File)