Hypertension Update
Intensive Blood Pressure Control Affects Cerebral Blood Flow in Type 2 Diabetes Mellitus Patients 2198 View(s)

โดย Yu-Sok Kim และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2011;57:738-745


บทคัดย่อ
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนในหลอดเลือดขนาดเล็ก, ภาวะความดันโลหิตสูง, และการบกพร่องของระบบควบคุมสมดุลย์หลอดเลือดสมอง.การควบคุมความดันแบบเข้มงวด (Intensive blood pressure control)ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัมพาต และอาจมีผลกระทบต่อเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง.

วิธีการศึกษา
การศึกษานี้ ได้ทำการเก็บข้อมูลค่า Systemic hemodyanamic variables, transcranial Doppler-determined cerebral blood flow velocity (CBFV), cerebral CO2 responsiveness และ ประเมิน cognitive function ที่ระยะเวลาหลังจาก 3 และ 6 เดือน หลังจากการควบคุมความดันโลหิตแบบเข้มงวดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี microvascular complications (T2DM+) จำนวน 17 คน ,  กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยังไม่มี microvascular complication (T2DM-) จำนวน 18 คน , และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน จำนวน 16 คน.

ผลการศึกษา
พบว่า Cerebrovascular reserve capacity ลดลงต่ำในกลุ่ม T2DM+ เมื่อเปรียบเทียบกับ T2DM- และ nondiabetic hypertensive patients  (4.6 +/- 1.1 vs 6.0 +/- 1.6 [p<0.05] และ 6.6 +/- 1.7 [p<0.01], delta%mean CBFV/mmHg). ภายหลังจากเดือนที่ 6 พบว่า นอกเหนือจากกลุ่มที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน พบว่า การลดความดันโลหิตแบบเข้มงวด ลด CBFV ทั้งในกลุ่ม T2DM- (58 +/- 9 to 54 +/- 12 cm.s-1)  และกลุ่ม T2DM+ (57 +/- 13 to 52 +/- 11 cm.s-1) ที่ระยะเวลา 3 เดือน, แต่ CBFV นั้นกลับสู่ภาวะพื้นฐาน ที่ 6 เดือน เฉพาะกลุ่ม T2DM- ในขณะที่การลดลงของ CBFV นั้นแย่ลงในกลุ่ม T2DM+ ( to 48 +/- 8 cm.s-1). การประเมิน cognitive function พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ระยะเวลา 6 เดือน.
 
สรุป
ภาวะ static cerebrovascular autoregulation มีความบกพร่องในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เป็นโรคเบาหวาน โดยการควบคุมความดันโลหิตแบบเข้มงวด ส่งผลในการลดลงชั่วคราวของค่า CBFV ในกลุ่มเบาหวานที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนของระบบหลอดเลือดเล็ก แต่พบว่ามีการลดลงอย่างต่อเนื่องของค่า CBFV ในกลุ่มเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนของระบบหลอดเลือดเล็ก ทำให้เป็นการบ่งชี้ว่า การรักษาสภาวะคงตัวของ cerebral perfusion ระหว่างการรักษาความดันโลหิตสูงควรพิจารณาปัจจัยเรื่องการเป็นโรคแทรกซ้อนของระบบหลอดเลือดเล็กด้วย. ผู้ทำการศึกษาได้มีข้อแนะนำว่าการลดความดันโลหิตนั้นควรพิจารณาเป็นปัจเจกบุคคล เพื่อเป้าหมายในการรักษาสมดุลย์ระหว่างการลดความดันและการรักษา CBFV.

Intensive Blood Pressure Control Affects Cerebral Blood Flow in Type 2 Diabetes Mellitus Patients (PDF File)