Hypertension Update
Adolescent BMI Trajectory and Risk of Diabetes versus Coronary Disease 2195 View(s)

โดย Amir Tirosh และคณะ
วารสาร New England Journal Of Medicine 2011;364:1315-25

ที่มา
ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย (Body-mass index, BMI) จากวัยรุ่นสู่ผู้ใหญ่ที่อ้วน ว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนั้นยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน.

วิธีการศึกษาวิจัย

การศึกษาแบบไปข้างหน้า (Prospective study)นี้ ได้ทำการติดตามวัยรุ่นชายที่สุขภาพดี จำนวน 37,674 คน ในการหาอุบัติการณ์ของ angiography-proven coronary heart disease และ โรคเบาหวาน ผ่านทางบริษัท the Staff Periodic Examination Center of the Israeli Army Medical Corps. ส่วนสูง และน้ำหนักของผู้เข้าร่วมได้ถูกทำการบันทึกเป็นระยะๆ โดยทำการเก็บข้อมูลครั้งแรกเมื่ออายุ 17 ปี.

ผลการศึกษา

ระหว่างการติดตามผู้เข้าร่วมจำนวน 650,000 คนในปีการติดตาม (ระยะเวลาเฉลี่ยการติดตาม เท่ากับ 17.4 ปี), พบ 1,173 รายที่เป็นโรคเบาหวาน
และ 327 รายที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี. จากการทำ Multivariate ปัจจัยอายุ, ประวัติครอบครัว, ความดันโลหิต
, วิถีชีวิต, และค่า biomarker ในเลือด พบว่า การเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายในวัยรุ่น (ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วย ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง
, ค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงในดัชนีมวลกาย ได้แก่ 17.3 ถึง 27.6) เป็นปัจจัยพยากรณ์ที่สำคัญของทั้งการเป็นเบาหวาน (hazard ratio เท่ากับ 2.76, 95% confidence interval [CI] เท่ากับ 2.11 ถึง 3.58) และเป็นโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี (angiography-proven coronary heart disease)
(hazard ratio 5.43 , 95%CI เท่ากับ 2.77 ถึง 10.62). ค่าดัชนีมวลกายเมื่อเป็นผู้ใหญ่ พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเป็นเบาหวาน (hazard ratio 1.01,95%CI เท่ากับ 0.75 ถึง 1.37) แต่ไม่สัมพันธ์กับการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (hazard ratio 6.85 , 95%CI เท่ากับ 3.30 ถึง 14.21).จากการวิเคราะห์ปัจจัยดัชนีมวลกายแบบ continuous variable ใน multivariate models  พบว่ามีเพียงการเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคเบาหวาน (B= 1.115, P= 0.003, P=0.89 สำหรับ interaction).  ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายทั้งในวัยรุ่น (B= 1.355, P= 0.004) และผู้ใหญ่ (B= 1.207, P= 0.03) ไม่พบความสัมพันธ์กับการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (P= 0.048 สำหรับ interaction).

สรุป
การเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายในวัยรุ่น ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันนำไปสู่โรคที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนในวัยกลางคน.  ความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ดับการเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกาย.  ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ซึ่งสนับสนุนสมมุติฐานกระบวนการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ.

Adolescent BMI Trajectory and Risk of Diabetes versus Coronary Disease (PDF File)