การควบคุมความดันโลหิตสูงแบบเข้มงวดกับผลด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมด้วย วารสารวิชาการ JAMA ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2553
ที่มา แนวทางในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง แนะนำให้ควรควบคุมความดันซิสโตลิก ไม่เกิน 130 มิลลิเมตรปรอทในผู้ป่วยเบาหวาน. แต่ยังขาดข้อมูลสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมด้วย.
วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการควบคุมค่าความดันซิสโตลิก และผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานร่วมกับโรคหลอดเลือดหัวใจ.
รูปแบบการศึกษาและผู้ป่วย เป็นการศึกษาแบบสังเกต ในผู้ป่วยกลุ่มย่อย จำนวน 6,400 คน จากผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 22,576 คน จากการศึกษา the International Verapamil SR-Trandolapril Study (INVEST). ทำการคัดเลือดกลุ่มตัวอย่าง ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี มีโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ. ระยะเวลาตั้งแต่ เดือน กันยายน ค.ศ.1997 ถึง เดือนธันวาคม ค.ศ.2000 จากจำนวน 862 แหล่งการศึกษา ในจำนวน 14 ประเทศ ได้ทำการติดตามผู้ป่วยเดือนมีนาคม ค.ศ.2003 และขยายระยะเวลาการติดตามจนถึง เดือนสิงหาคม ค.ศ.2008 โดยผ่านทางหน่วยงาน the National Death Index for US participants.
การศึกษาวิจัย ผู้ป่วยได้รับการรักษาความดันโลหิตสูงด้วยยากลุ่ม Calcium antagonist หรือ Beta blocker ตามด้วย Angiotensin-converting enzyme inhibitor, ยาขับปัสสาวะ หรือทั้งสองกลุ่ม เพื่อให้ได้เป้าหมายความดันซิสโตลิก น้อยกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท และความดันไดแอสโตลิก น้อยกว่า 85 มิลลิเมตรปรอท. จำแนกกลุ่มผู้ป่วยตามระดับความดันซิสโตลิก โดยกลุ่มที่อยู่กลุ่มควบคุมความดันโลหิตแบบเข้มงวด กำหนดความดันซิสโตลิก น้อยกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท. ผู้ป่วยในกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตทั่วไป กำหนดความดันโลหิตซิสโตลิก ตั้งแต่ 130 ถึงน้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ กลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ คือ ความดันซิสโตลิก ตั้งแต่หรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท.
การวัดผลการศึกษา ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ประกอบด้วย ผลปฐมภูมิ ได้แก่ การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (All cause death) หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (nonfatal myocardial infarction) หรือ ภาวะโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (nonfatal stroke).
ผลการศึกษา ในระยะการศึกษา จากผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 16,893 คน มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทีศึกษา (Primary outcome) จำแนกตามกลุ่มระดับการควบคุม ได้แก่ กลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตแบบเข้มงวด (Tight control) เกิดภาวะแทรกซ้อนจำนวน 286 คน (ร้อยละ 12.7), กลุ่มควบคุมความดันโลหิตทั่วไป (Usual control) เกิดภาวะแทรกซ้อนจำนวน 249 คน (ร้อยละ 12.6) และ กลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ (Uncontrolled) เกิดภาวะแทรกซ้อนจำนวน 431 คน (ร้อยละ 19.8). เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มความคุมความดันได้ทั่วไป กับกลุ่มที่ควบคุมไม่ได้ พบว่า มี adjusted hazard ratio [HR] เท่ากับ 1.46, 95% confidence interval [CI] เท่ากับ 1.25 ถึง 1.71 มีค่านัยสำคัญทางสถิติ (p) น้อยกว่า 0.01. แต่เมือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมความดันเข้มงวด และกลุ่มความคุมความดันทั่วไป มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย พบว่ามี adjusted HR เท่ากับ 1.11, 95% CI เท่ากับ 0.93 ถึง 1.32 มีค่านัยสำคัญทางสถิติ (p) น้อยกว่า 0.24. อัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ในกลุ่มความคุมเข้มงวด ร้อยละ 11.0 และ ในกลุ่มควบคุมความดันทั่วไป ร้อยละ 10.2 มี adjusted HR เท่ากับ 1.20 , 95% CI เท่ากับ 0.99 ถึง 1.45 มีค่านัยสำคัญทางสถิติ (p) น้อยกว่า 0.06. แต่เมื่อขยายระยะเวลาการติดตามผู้ป่วยออกไป พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ในกลุ่มที่ควบคุมเข้มงวด (ร้อยละ 22.8) มากกว่า กลุ่มควบคุมทั่วไป(ร้อยละ 21.8) มี adjusted HR เท่ากับ 1.15 , 95% CI เท่ากับ 1.01 ถึง 1.32 มีค่านัยสำคัญทางสถิติ (p) น้อยกว่า 0.04.
สรุป การควบคุมความดันโลหิตซิสโตลิกแบบเข้มงวด ในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดีขึ้นของภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุมความดันโลหิตสูงแบบทั่วไป.
|