Hypertension Update
Impact of indoor temperature instability on diurnal and day-by-day variability of home blood pressure in winter: a nationwide Smart Wellness Housing survey in Japan 2906 View(s)
โดย Wataru Umishio และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension Research (2021) 44:1406–1416.
https://doi.org/10.1038/s41440-021-00699-x

บทคัดย่อ
ความแปรปรวนของความดันโลหิตที่บ้าน (Home blood pressure; HBP variability) เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเหตุการณ์หัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular events).ในขณะที่การศึกษาหลายชิ้น ได้ตรวจสอบผลกระทบของคุณลักษณะส่วนบุคคล และปัจจัยการดำเนินชีวิต ในการลดความแปรปรวนของ HBP แต่ปัจจัยด้านผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด.

ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานว่า สภาพแวดล้อมในการระบายความร้อนในบ้านที่มีเสถียรภาพ (stable home thermal environment) ช่วยลดความแปรปรวนของ HBP. โดยทำการสำรวจทางระบาดวิทยาเกี่ยวกับ HBP และอุณหภูมิในร่ม ในผู้เข้าร่วม 3,785 คน (2,162 ครัวเรือน) ที่วางแผนจะปรับปรุงบ้านด้วยฉนวน.
HBP วัดสองครั้งในตอนเช้าและเย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์ในฤดูหนาว. อุณหภูมิในร่มจะถูกบันทึกด้วยการ เมื่อมีการสังเกต HBP ในแต่ละครั้ง.

ผู้วิจัยได้ทำการคำนวณ ผลต่างช่วงเช้า-เย็น (ME, morning-evening difference) เป็นดัชนีความแปรปรวนรายวัน (index of diurnal variability) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation, SD) ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน (coefficient of variation, CV)
ความแปรปรวนจริงเฉลี่ย (average real variability, ARV) และความแปรปรวนที่ไม่ขึ้นกับค่าเฉลี่ย (variability independent of the mean, VIM) เป็นดัชนีของความแปรปรวนในวันต่อวัน (indices of day-by-day variability).

ความสัมพันธ์ระหว่างความแปรปรวนของความดันโลหิต (BP variability) และความไม่แน่นอนของอุณหภูมิ (temperature instability) ได้รับการวิเคราะห์โดย ใช้แบบจำลองการถดถอยเชิงเส้นหลายตัว (multiple linear regression models).

ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของ ME ในอุณหภูมิในร่ม / กลางแจ้ง (อุณหภูมิลดลงในชั่วข้ามคืน) คือ 3.2 / 1.5 องศาเซลเซียส (°C) และ SD เฉลี่ยของอุณหภูมิในร่ม / กลางแจ้งคือ 1.6 / 2.5 องศาเซลเซียส.

การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น (linear regression analyses) แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างของ ME ในอุณหภูมิในร่ม มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ ME ความแตกต่างของความดันโลหิตซิสโตลิก (0.85 mmHg/°C , p < 0.001).


SD ของอุณหภูมิในร่ม ยังสัมพันธ์กับ SD ของความดันโลหิตซิสโตลิก (0.61 mmHg/°C, p < 0.001).

CV, ARV และ VIM แสดงให้เห็นแนวโน้มที่คล้ายคลึงกันกับ SD ของ BP.

ในทางตรงกันข้าม ความไม่เสถียรของอุณหภูมิภายนอกอาคาร (outdoor temperature instability) ไม่สัมพันธ์กับ ความแปรปรวนของ HBP ในแต่ละวัน หรือแบบวันต่อวัน.

ดังนั้น ผู้อยู่อาศัยควรรักษาอุณหภูมิในร่มให้คงที่ เพื่อลดความแปรปรวนของความดันโลหิต.

(Credit picture: https://www.cielowigle.com/)