Home-based transcutaneous electrical acupoint stimulation for hypertension : a randomized controlled pilot trial
2916 View(s)
โดย Jian-Feng Tu และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension Research (2021) 44:1300–1306. https://doi.org/10.1038/s41440-021-00702-5.
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการทดลองนี้ คือ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ (feasibility) และผล (effect) ของ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนังที่บ้าน (transcutaneous electrical acupoint stimulation, TEAS) ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง.
ในการทดลองนำร่องแบบสุ่มนี้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการสุ่มให้อยู่ใน กลุ่ม TEAS หรือ กลุ่มดูแลปกติ (usual care). ผู้เข้าร่วมในกลุ่มการดูแลตามปกติ ได้รับคำสั่งให้ใช้ยาลดความดันโลหิตต่อไป และได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต. นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมในกลุ่ม TEAS ยังได้รับการกระตุ้น acupoint แบบไม่รุกล้ำ (noninvasive acupoint stimulation) สัปดาห์ละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ที่บ้าน.
ผลลัพธ์หลัก (primary outcome) คือ การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตซิสโตลิกในสำนักงาน (office systolic blood pressure) ที่สัปดาห์ที่ 12 จากการตรวจวัดพื้นฐาน.
การถอนตัวจากการศึกษา และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ TEAS จะถูกบันทึกไว้ด้วย.
ผู้ป่วยจำนวน 60 รายได้รับการสุ่ม จำแนกตาม กลุ่ม TEAS จำนวน 30 ราย (มี 1 ราย หายไปในสัปดาห์ที่ 36) และ กลุ่มการดูแลตามปกติ จำนวน 30 ราย (มี 3 รายหายไปในสัปดาห์ที่ 12).
ผลการศึกษา พบว่า ความดันโลหิตซิสโตลิกลดลงในสัปดาห์ที่ 12 ในกลุ่ม TEAS ลดลง (−8.53 mm Hg; 95% CI [-13.37, −3.70 mm Hg]) มากกว่าในกลุ่มการดูแลปกติ (-1.70 mm Hg; 95% CI [ −4.29, −0.89 mmHg]) โดยมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ −6.83 mmHg (95% CI, [-12.23, −1.43 mmHg]; P = 0.014).
ไม่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ TEAS เกิดขึ้น.
โดยสรุป TEAS แบบใช้ในบ้าน ถูกนำมาใช้เพิ่มเติมจากการรรักษาแบบปกติในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นที่ยอมรับ และปลอดภัย และอาจเป็นทางเลือกในการรักษา.
โดยมีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยชิ้นนี้ คือ ควรมีการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับการแทรกแซงนี้.
(credit picture: https://www.researchgate.net/publication/342362791/figure/fig2/AS:905973350797313@1593012287093/Locations-of-acupoints_Q320.jpg)