Hypertension Update
Inverse Association Between Riboflavin Intake and New-Onset Hypertension 2918 View(s)
Inverse Association Between Riboflavin Intake and New-Onset Hypertension. A Nationwide Cohort Study in China.

โดย Mengyi Liu และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension. 2020;76:1709–1716.

บทคัดย่อ :
ความสัมพันธ์ในอนาคตของการบริโภคไรโบฟลาวิน (Riboflavin) ในอาหาร กับความดันโลหิตสูงยังคงไม่แน่นอน.

ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของการบริโภคไรโบฟลาวินในอาหาร กับความดันโลหิตสูงที่เพิ่งเริ่มมีอาการ (new-onset hypertension) และตรวจสอบตัวปรับผลกระทบที่เป็นไปได้ในประชากรทั่วไป.

ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 12,245 คน ที่ไม่มีความดันโลหิตสูงในระดับพื้นฐาน จาก China Health and Nutrition Survey ถูกคัดเลือกเข้าสู่่การศึกษา.

ผลการศึกษา ได้แก่ การเกิดใหม่ของความดันโลหิตสูง (new-onset hypertension) โดยมีคำนิยาม คือ ความดันโลหิตซิสโตลิก มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันโลหิตดัยแอสโตลิกมากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท หรือ ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือ ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตในระหว่างการติดตาม.

พบว่าผู้ป่วยจำนวน 4,303 คน (ร้อยละ 35.1) เกิดเป็นความดันโลหิตสูงในระหว่าง 95,573 คน-ปี ของการติดตาม. โดยรวมแล้ว มีความสัมพันธ์แบบไม่เชิงเส้นผกผัน (nonlinear, inverse association)ระหว่างการบริโภคไรโบฟลาวินทั้งหมด (total), จากพืช (plant-based)
หรือจากสัตว์ (animal-based) กับความดันโลหิตสูงที่เริ่มมีอาการใหม่ (all P for nonlinearity < 0.001). ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงที่เพิ่งเริ่มมีอาการ เพิ่มขึ้นเฉพาะในผู้เข้าร่วมที่รับประทานไรโบฟลาวินที่ค่อนข้างต่ำ.

ดังนั้นความเสี่ยงที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญของความดันโลหิตสูงที่เพิ่งเริ่มมีอาการ พบในผู้เข้าร่วมในควอไทล์ 2 ถึง 4 ของการบริโภคไรโบฟลาวินทั้งหมด (hazard ratio, 0.74 [95% CI, 0.68–0.80]), การบริโภคไรโบฟลาวินที่ได้จากพืช (hazard ratio, 0.77 [95% CI, 0.71–0.84]) หรือการบริโภคไรโบฟลาวินที่ได้จากสัตว์ (hazard ratio, 0.70 [95% CI, 0.65–0.77]) เทียบกับที่อยู่ในควอไทล์ 1.

นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคไรโบฟลาวินทั้งหมด กับความดันโลหิตสูงที่เพิ่งเริ่มมีอาการ พบได้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอัตราส่วนโซเดียม / โพแทสเซียมในอาหารลดลง (P interaction, <0.001).

โดยสรุป มีความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่างการบริโภคไรโบฟลาวิน กับความดันโลหิตสูงที่เพิ่งเริ่มมีอาการในผู้ใหญ่ชาวจีนทั่วไป.

ผลลัพธ์ของเราเน้นย้ำถึง ความสำคัญของการรักษาระดับการบริโภคไรโบฟลาวินที่ค่อนข้างสูงขึ้น เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง.

Credit picture: https://nutritionbymia.com/riboflavin