Hypertension Update
Importance of early diagnosis in peripartum cardiomyopathy 2936 View(s)
Importance of early diagnosis in peripartum cardiomyopathy.

โดย Lewey J และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension. 2020;75:91-97.

บทคัดย่อ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องในช่วงการตั้งครรภ์ (Peripartum cardiomyopathy, PPCM) สามารถนำสู่ภาวะการบีบตัวของหัวใจบกพร่อง (systolic dysfunction) ในระยะยาวได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงผิวดำ. ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ (hypertensive disorder of pregnancy, HDP) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดสำหรับการเกิดภาวะ PPCM. แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีความเห็นขัดแย้งว่า การมีภาวะ HDP อาจเป็นสิ่งที่นำสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เนื่องจากพบว่าผู้หญิงที่มีาภาวะ HDP จะได้รับการวินิจฉัยภาวะ PPCM ในขั้นต้นได้บ่อยกว่าผู้หญิงที่ไม่มีภาวะ HDP.

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจสอบการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจ ในผู้ป่วย PPCM แบ่งระดับโดย HDP, ระยะเวลาของการวินิจฉัย และเชื้อชาติ. ผู้ทำการศึกษา ได้ทำการศึกษาแบบ retrospective cohort ในผู้ป่วย 220 คน (ร้อยละ 55 เป็นผิวดำ) ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ PPCM.

ผู้ป่วยที่เป็น PPCM ร่วมกับ HDP ได้รับการวินิจฉัยในช่วงหลังคลอดได้เร็วกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะ HDP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.013) และผลกระทบนี้เด่นชัดมากที่สุดในผู้ป่วยที่ไม่ใช่ดำ.

อัตราการฟื้นตัวของ left ventricular ejection fraction (LVEF) พบว่ามีความคล้ายคลึงกันในระหว่างผู้ป่วย PPCM ที่มี และไม่มีภาวะ HDP (ร้อยละ 68.4 กับร้อยละ 62.6, P=0.425).

ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วย PPCM ที่ได้รับการวินิจฉัยภายหลัง 1 เดือนหลังคลอด พบว่ามีอัตราการฟื้นตัวของ LVEF ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่วินิจฉัยก่อนหน้าระยะเวลาดังกล่าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(P=0.041).

การเกิดภาวะ HDP ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับอัตราการฟื้นตัวของ LVEF แต่ในทางตรงกันข้าม การวินิจฉัยได้รวดเร็ว เป็นปัจจัยส่งเสริมของผลการรักษามากกว่า. การวินิจฉัยได้รวดเร็ว มีความสัมพันธ์กับค่า LVEF ที่สูงกว่า ในช่วงที่มีอาการนำ.

การค้นพบเหล่านี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเฝ้าติดตาม และวินิจฉัยโรคในระยะแรก โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง และที่ด้อยโอกาส.

Credit photo : https://images.app.goo.gl/dAcU1ubK71H4u3qo9