Hypertension Update
Unhealthy behavior and risk of hypertension 2918 View(s)
Unhealthy behavior and risk of hypertension: the CONSTANCE population-based cohort.
โดย Michelle Cherfan และคณะ
วารสารวิชาการ Journal of Hypertension 2019, 37:2180-2189.

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : ได้แก่ เพื่อประเมินลักษณะแต่ละบุคคลและการความสัมพันธ์ด้านพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และโรคความดันโลหิตสูง.

วิธีการศีกษา : โดยวิธี cross-sectional analysis ข้อมูลจาก population-based cohort study CONSTANCE. การวัดความดันโลหิตได้รับการปฏิบัติในตามมาตรฐาน. การควบคุมอาหาร ยึดตามแนวทางของอาหารลดความดันโลหิต ประเภท the dietary approach to stop HTN diet (DASH). ผู้ทำการศึกษาได้คำนึงถึงปัจจัย การดื่มแอลกอฮอล์, การออกกำลังกายในระดับที่อยู่ประจำ (sedentary-level physical activity), การยึดมั่นด้านอาหารระดับต่ำ/ปานกลาง (low/medium dietary adherence) และน้ำหนักตัวที่มากเกิน/ความอ้วน (overweight/obese) เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ.

ลักษณะของผู้เข้าร่วมในการศึกษาได้รับการเปรียบเทียบจำนวนปัจจัยที่เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างโรคความดันโลหิตสูง กับปัจจัยที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยใช้ logistic regression.

ผลการศึกษา : จากจำนวนอาสาสมัครที่เข้าร่วม ทั้งสิ้น 86,448 คน พบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 31.1 พบว่าในกลุ่มที่เป็นโรคนั้น มีร้อยละ 8.2, 33.0, 44.3, และ 14.5 มีปัจจัยพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพจำนวน 0, 1, 2 หรือ อย่างน้อย 3 ข้อ ตามลำดับ. ในท้้งสองเพศ พบว่า ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง พบมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่ม low/medium dietary adherence เปรียบเทียบกับ high (P < 0.01) , กลุ่ม overweight/obese เปรียบเทียบกับ normal BMI (P < 0.001), กลุ่ม heavy alcohol consumption เปรียบเทียบกับ moderate หรือ never (P < 0.05) และกลุ่ม sedentary-level physical activity เปรียบเทียบกับ high ในเพศหญิงเท่านั้น (P = 0.049).

เมื่อรวมปัจจัยที่เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ต่อความสัมพันธ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง (P trend < 0.001) พบว่าเพศชาย จะมีรายงานโรคความดันโลหิตสูง เมื่อมีจำนวนปัจจัย 2 หรือ อย่างน้อย 3 ข้อ ต่อ odds ratio ของโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 1.77 และ 2.29 ตามลำดับ ในขณะที่เพศหญิง มีค่า adjusted odds ratio เท่ากับ 1.71 และ 2.14 ตามลำดับ.

สรุป : ปัจจัยด้านบุคคและ และพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพมีความสัมพ้นธ์อย่างชัดเจนต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จากฐานข้อมูลประชากรขนาดใหญ่ที่ทำการศึกษา.

Credit picture : https://images.app.goo.gl/EuBLFMjNCJTLMXJb6