Early onset hypertension is associated with hypertensive end-organ damage already by midlife
2951 View(s)
Early onset hypertension is associated with hypertensive end-organ damage already by midlife.
โดย Karri Suvila และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension. 2019;74:305-312.
บทคัดย่อ
ภาวะความดันโลหิตสูงในอายุน้อย (early onset hypertension) เพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในชุมชน.นอกจากนี้ภาวะดังกล่าวยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะ (target end-organ damage, TOD) แม้ว่าจะเป็นช่วงวัยกลางคน (midlife) โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด.
ผู้ทำการวิจัยได้ทำการศึกษาในกลุ่มวัยกลางคนจำนวน 2,680 คนจากการศึกษา CARDIA Study (Coronary Artery Risk Development in Young Adults) (อายุเฉลี่ย 50 +/- 4 ปี, ร้อยละ 57 เป็นเพศหญิง) ผู้ซึ่งได้รับการประเมินความดันโลหิตอย่างน้อย 8 ครั้งในระหว่างปีค.ศ.1985 ถึง 2011 (ช่วงอายุที่พื้นฐาน อายุ 18-30 ปี) และได้รับการประเมินพบ echocardiographic left ventricular hypertrophy, coronary calcification, albuminuria และ diastolic dysfunction ในปี ค.ศ.2010 ถึง 2011.
อายุของการเริ่มเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ได้ถูกให้คำนิยามว่าเป็นอายุที่พบความดันโลหิตสูง มากกว่าหรือเท่ากับ 140 / 90 มิลลิเมตรปรอทติดต่อกันตั้งแต่ 2 ครั้ง หรือเป็นผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิต. ผู้เข้าร่วมการศึกษาถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มตามอายุที่เกิดโรค (onset) ได้แก่ (1) น้อยกว่า 35 ปี , (2) 35-44 ปี และ (3) มากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี หรือ (4) ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิด TOD ได้แก่ ค่าความดันซิสโตลิก, ผู้วิจัยได้ใช้ค่าสถิติ logistic regression ในการคำนวณ odds ratios ในกลุ่มผู้ป่วย Case (ที่มี TOD) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (control, ไม่มี TOD) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอายุที่เริ่มเกิดภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะ hypertensive TOD.
พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ , ผู้ที่เริ่มเป็นความดันโลหิตสูงที่อายุก่อน 35 ปี จะมีค่า odd ratios เท่ากับ 2.29 (95% CI, 1.36-3.86), 2.94 (95% CI, 1.57-5.49), 1.12 (95% CI, 0.55-2.29), และ 2.06 (95% CI, 1.04-4.05) สำหรับการเกิด left ventricular hypertrophy, coronary calcification, albuminuria และ diastolic dysfunction ตามลำดับ. ในทางตรงกันข้าม ภาวะความดันโลหิตสูงที่เริ่้มเกิดเมื่ออายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด TOD.
สรุป : จากข้อมูลดังกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการประเมินอายุที่เริ่มเกิดภาวะความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยเพื่อจำแนกกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง นำสู่การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง.
Credit picture : www.health24.com/Medical/Hypertension/News/Midlife-hypertension-linked-to-mental-decline-20140806