Hypertension Update
Difference in SBP between arms is a predictor of chronic kidney disease development in the general Korean population 2905 View(s)
Difference in SBP between arms is a predictor of chronic kidney disease development in the general Korean population.

โดย Gwang-Sil Kim และคณะ

วารสารวิชาการ Journal of Hypertension 2019,37:790-794.

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : การเพิ่มขึ้นของความแตกต่างค่าความดันซิสโตลิกระหว่างแขนทั้งสองข้าง (inter-arm SBP difference, IASBPD) มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต (mortality), ภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจหลอดเลือด (cardiovascular events) และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (periphearal vascular disease) ได้แก่ ภาวะการตีบของหลอดเลือดแดง subclavian. เป้าหมายของการศึกษานี้เพื่อสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่าง IASBPD กับอุบัติการณ์การเกิดโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD) ในกลุ่มประชากรชาวเกาหลี.

วิธีการศีกษา : เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่ชาวเกาหลี จำนวน 8,780 คน ที่ไม่ได้เป็นโรคไตเรื้อรังมาก่อน. ผู้ป่วยได้รับการประเมินความดันโลหิตที่แขนทั้งสองข้างโดยลำดับในการมาครั้งแรก. คำนิยามสำหรับ IASBPD หมายถึง ความแตกต่างของค่าความดันซิสโตลิกระหว่างแขนทั้งสองข้างอย่างน้อย 15 มิลลิเมตรปรอทตามแนวทางคำแนะนำของ
the National Institute for Health and Clinical Excellence

โรคไตเรื้อรัง หมายถึง การที่ค่าการทำงานของไต (estimated glomerular filtration rate) น้อยกว่า 60 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร.ผู้ทำการศึกษาได้ทำการประเมินค่าของ IASBPD เพื่อทำนายอุบัติการณ์การเกิดโรคไตเรื้อรังและการสืบค้นโรคหัวใจหลอดเลือด ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีและโรคหลอดเลือดสมอง.

ผลการศึกษา : ระยะเวลาติดตามเฉลี่ย 8.5 ปี พบว่า ผู้ป่วยจำนวน 96 คนจาก 581 คน (คิดเป็นร้อยละ 16.5) ในกลุ่ม IASBPD และผู้ป่วยจำนวน 1,037 คนจาก 8,199 คน (คิดเป็นร้อยละ 12.6) ในกลุ่ม Non-IASBPD ได้เกิดโรคไตเรื้อรัง.

เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยกลุ่ม Non-IASBPD, ผู้ป่วยในกลุ่ม IASBPD มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติการณ์ของโรคไตเรื้อรัง [hazaard ratio [HR] 1.336, 95 % confidence interval (CI): 1.08 - 1.65, P = 0.007].

ภายหลังจากการปรับปัจจัยตัวกวน ได้แก่ อายุ , เพศ , โรคความดันโลหิตสูง , โรคเบาหวาน และโรคอ้วน พบว่าภาวะดังกล่าวมี hazaard ratio เท่ากับ 1.275, 95 % CI 1.03 - 1.58, P= 0.024

สรุป : การเพิ่มขึ้นของ IASBPD เป็นปัจจัยพยากรณ์แบบ independent ของการเพิ่มขึ้นของการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มประชากรทั่วไป.

Credit image : https://healthwan.com/wp-content/uploads/2018/12/CKD.jpg