Blood pressure pattern and target organ damage in patients with chronic kidney disease
2916 View(s)
Blood pressure pattern and target organ damage in patients with chronic kidney disease.
โดย Johannes B. Scheppach และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2018;72:929-936.
ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ข้อมูลรูปแบบของความดันโลหิต (blood pressure [BP] pattern) มีความสัมพันธ์กับ target organ damage ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การเพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด.
การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีความดันโลหิตสูงจำนวน 305 ราย, ผู้วิจัยได้ทำการประเมินรูปแบบของความดันโลหิต (BP pattern), left ventricular mass (magnetic resonance imaging), intima media thickness (ultrasound) , 24-hour-pulse wave velocity และ 24-hour- central augmentation index (Mobil-O-Graph).
กลุ่มความดันโลหิตสูงที่ถูกควบคุมได้ (controlled hypertension) (หมายถึง ความดันโลหิตแบบ office และ ambulatory ปกติ) พบร้อยละ 41 และกลุ่มความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ (sustained uncontrolled hypertension) (หมายถึง ความดันโลหิตแบบ office และ ambulatory ยังสูง) พบร้อยละ 30.
กลุ่มที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ (misclassification) พบร้อยละ 29 ของผู้ป่วยทั้งหมด ประกอบด้วย
white coat uncontrolled hypertension (หมายถึง ความดันแบบ office สูง แต่ความดันแบบ ambulatory ปกติ) พบร้อยละ 11 ของผู้ป่วยทั้งหมด, masked uncontrolled hypertension (หมายถึง ความดันแบบ office ปกติ แต่ความดันแบบ ambulatory สูง) พบร้อยละ 18 ของผู้ป่วยทั้งหมด. พบว่าค่า left ventricular mass เพิ่มขึ้นในกลุ่ม white coat uncontrolled hypertension (+11.2 กรัม), กลุ่ม masked uncontrolled hypertension (+9.4 กรัม)
และกลุ่ม sustained uncontrolled hypertension (+16.6 กรัม) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม controlled hypertension. ค่า intima-media thickness มึความคล้ายคลึงกันในทั้ง 4 กลุ่ม.
24-hour pulse wave velocity และ 24-hour-central augmentation index มีค่าเพิ่มขึ้นในกลุ่ม masked uncontrolled hypertension (+0.5 เมตรต่อวินาที และ + ร้อยละ 2.5) และในกลุ่ม sustained uncontrolled hypertension (+0.5 เมตรต่อวินาที และ + ร้อยละ 2.9) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม controlled hypertension.
สรุป จากการวัดความดันโลหิตแบบ office พบว่ามีกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงจริงที่ไม่ได้ถูกจัดกลุ่มประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง โดยทั้งสองประเภทได้แก่ white coat uncontrolled hypertension และ masked uncontrolled hypertension พบว่ามีความสัมพ้นธ์กับการเกิด target organ damage. การวัดความดันโลหิตแบบ ambulatory ควรถูกนำมาใช้อย่างเป็นประจำเพื่อค้นหากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง.
Credit image : https://d1aueex22ha5si.cloudfront.net/ Conference/753/ Highlight/CKD-1519375802184.jpg