Hypertension Update
Hypertension, microvascular pathology, and prognosis after an acute myocardial infarction. 2893 View(s)
Hypertension, microvascular pathology, and prognosis after an acute myocardial infarction.

โดย David Carrick และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2018;72:720-730.

บทคัดย่อ :
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อมูลด้านพยาธิวิทยา (pathophysiology) ของการบาดเจ็บของหลอดเลือดขนาดเล็ก (microvascular injury)
ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด acute ST elevation myocardial infarction ที่เคยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง.
การศึกษานี้ เป็นแบบ cohort study โดยใช้การประเมินภาวะ micarovascular injury ทั้งแบบ invasive และ noninvasive
ได้แก่ cardiac magnetic resonance imaging (cardiac-MRI) ที่ระยะเวลาวันที่ 2 และเดือนที่ 6 และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว.
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วย acute myocardial infarction จำนวน 324 คน (มีอายุเฉลี่ย 52 [12] ปี, ความดันโลหิตเฉลี่ย 135 [25] / 79 [14] มิลลิเมตรปรอท,
เป็นเพศชาย 237 คน (ร้อยละ 73), เป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน 105 คน (ร้อยละ 32) )
โดยกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้ถูกทำการคัดเลือกเข้าสูงการศึกษาในระหว่างที่ได้รับการทำ emergency percutaneous coronary intervention.

เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีอายุมากกว่า (อายุเฉลี่ย 63 [12] ปี กับ 57 [11] ปี, P< 0.001)
และมีสัดส่วนที่สูบบุหรี่น้อยกว่า (52 คน (ร้อยละ 50) กับ 144 คน (ร้อยละ 66), P=0.007).
พบว่า coronary blood flow, microvascular resistance ภายในหลอดเลือดแดงต้นเหตุ (culprit artery), พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจตาย (infarct pathologies)
, การอักเสบ (C-reactive protein และ Interleukin-6) ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูง.

เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน พบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีการฟื้นตัวของการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricular ejection fraction)
ที่ 6 เดือนจากเริ่มต้นที่น้อยกว่า (ร้อยละ 5.3 [8.2], กับ ร้อยละ 7.4 [7.6]; P=0.040].

พบว่าปัจจัยการเป็นความดันโลหิตสูงมาก่อนมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเลือดออกในกล้ามเนื้อหัวใจที่ระยะเวลา 2 วันภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (1.8 [0.98-3.34]; P=0.059)
และการเสียชีวิตจากสาเหตุทั้งหมด (all-casuse death) หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) (n=47 events, n=24 ในกลุ่มความดันโลหิตสูง; 2.53 [1.28-4.98]; P=0.007)
เมื่อระยะเวลาภายหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (ค่ามัธยฐานระยะเวลาการติดตาม 4 ปี).

สรุป การบาดเจ็บของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กแบบมีการดำเนินรุนแรง (severe progressive microvascular injury)
เป็นพยาธิสรีระวิทยาและการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก่อน.