Hypertension Update
Objective but not subjective short sleep duration is association with hypertension in obstructive sleep apnea. 2898 View(s)
Objective but not subjective short sleep duration is association with hypertension in obstructive sleep apnea.

โดย Rong Ren และคณะ.
วารสารวิชาการ Hypertension 2018;72:610-617.

บทคัดย่อ
ระยะเวลาการนอนหลับที่ผิดปกติและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea, OSA) มีความสัมพันธ์กับการเกิดความดันโลหิตสูง.
ผู้ทำการศึกษาได้ทำการค้นหาว่าปัจจัยระยะเวลาในการนอนหลับจะปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่าง OSA และความชุกในการเกิดความดันโลหิตสูง โดยประเมินทั้งด้านรูปธรรม (objective)
และด้านที่ผู้ป่วยรู้สึก (subjective) ต่อระยะเวลาการนอนทั้งหมด.
ผู้ทำการศึกษาได้ทำการคัดเลือกเข้าสำหรับผู้ป่วย OSA จำนวน 7,107 คน และผู้ป่วยที่นอนกรนประเภทปฐมภูมิ (primary snorers) จำนวน 1,118 คน เข้าสู่การศึกษานี้.
ภาวะความดันโลหิตสูงในการศึกษานี้ ได้ถูกให้คำนิยามทั้งจากการวัดความดันโลหิตโดยตรง หรือจากการได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์.
ระยะเวลาของการนอนหลับประเภทด้านรูปธรรม (objective sleep duration)ได้รับการวินิจฉัยจากการตรวจ polysomnography
และะยะเวลาของการนอนหลับประเภทด้านที่ผู้ป่วยรู้สึก (subjective sleep duration) ได้รับการวินิจฉัยโดยการรายงานส่วนบุคคล.
การวิเคราะห์ทางสถิติแบบ Logistic regression model ถูกนำมาใช้ในการประเมินความสัมพันธ์ระหว่าง objective/subjective sleep duration
และความชุกของความดันโลหิตสูงใน OSA และ primary snorers.
เมื่อเปรียบเทียบกับ primary snorers, OSA ร่วมกับ objective sleep duration ที่ 5-6 ชั่วโมงเพิ่ม odds ของภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 45
(odd ratio, 1.45; 95 % confidence interval, 1.14-1.84)
ในขณะที่ OSA ร่วมกับ objective sleep duration ที่่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงจะเพิ่ม odds ของภาวะความดันโลหิตสูง ถึงร้อยละ 80
(odd ratio, 1.80; 95 % confidence interval, 1.33-2.42).
ผลเหล่านี้เป็นปัจจัยกวนประเภทอิสระที่พบบ่อยกับ OSA หรือ ความดันโลหิตสูง.
ในการวิเคราะห์ลำดับชั้น (stratified analylsis) โดยระยะเวลาการนอนหลับ พบว่า ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงพบในกลุ่มที่มีระยะเวลาการนอนที่สั้นมาก (น้อยกว่า 5 ชั่วโมง)
ไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม OSA และ primary snorers ในขณะที่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม OSA กับระยะเวลาการนอนหลับอีก 4 กลุ่ม (5-6, 6-7, 7-8 และ มากกว่า 8 ชั่วโมง).
ไม่พบความมีนัยสำคัญใดๆ กรณีที่ใช้ข้อมูล subjective sleep duration.

ผู้ทำการศึกษา ได้ใหัขัอสรุปว่า objective sleep duration มีความสัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย OSA.
ระยะเวลาการนอนหลับที่สั้นมากอาจเป็นปัจจัยที่เป็นอันตรายมากกว่า OSA ในด้านการเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง.