Hypertension Update
Maternal weight, snoring and hypertension: Potential pathway of association. 2894 View(s)
Maternal weight, snoring and hypertension: Potential pathway of association.

โดย Galit Levi Dunietz.

วารสารวิชาการ American Journal of Hypertension 31 (10) October 2018.

ที่มา : ภาวะความดันโลหิตสูงในภาวะตั้งครรภ์ (hypertension disorder of pregnancy; HDP) มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกินของมารดา และการนอนกรน.
แต่อย่างไรก็ตามกลไกระหว่างภาวะน้ำหนักเกินของมารดา, ภาวะการนอนกรนที่เกิดเมื่อตั้งครรภ์ และ ภาวะความดันโลหิตสูงในภาวะตั้งครรภ์ อาจมีบางส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน.
ผู้ทำการศึกษาได้ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะน้ำหนักเกินของมารดา และอุบัติการณ์การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในภาวะตั้งครรภ์ และกระบวนการเกิดในทางอ้อมของภาวะการนอนกรนที่เกิดเมื่อตั้งครรภ์.

วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 จากคลนิกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. ผู้ทำการศึกษาได้ทำการเก็บข้อมูลด้านการนอนหลับด้วยแบบสอบถาม.
ข้อมูลพื้นฐานทางประชากรและด้านการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1 ได้จากเวชระเบียน. ภายหลังที่ได้ทำการคัดออกในกลุ่มมารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์ และ/หรือ การนอนกรนเรื้อรังแล้ว
ผู้ทำการศึกษาได้ทำาการวิเคราะห์แบบหาสาเหตุเพื่อประเมินความสัมพันธ์แบบทั้งหมดและแบบทางตรงระหว่างน้ำหนักของมารดากับอุบัติการณ์เกิดภาวะความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์
และความสัมพันธ์ในทางอ้อมผ่านทางภาวะการนอนกรนที่เกิดเมื่อตั้งครรภ์. ผู้ทำการศึกษาได้ทำการประเมินสัดส่วนความสัมพันธ์ผ่านทางภาวะการนอนกรนที่เกิดเมื่อตั้งครรภ์
ต่อความสัมพันธ์ทั้งหมดของน้ำหนักของมารดา และภาวะความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์

ผลการศึกษา : ภายหลังจากทำการคัดออกภาวะความดันโลหิตสูงชนิดเรื้อรัง และ/หรือ การนอนกรน คงเหลือกลุ่มตัวอย่างมารดาที่ตั้งครรภ์สุดท้ายจำนวน 1,333 คน.
จากผลการวิเคราะห์ พบว่า มารดาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอุบัติการณ์การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์, odds ratio (OR) = 1.87
(95% confidence interval (CI) 1.30, 2.70).
ภาวะการนอนกรนที่เกิดเมื่อตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดผลระหว่างปัจจัยน้ำหนักของมารดา และอุบัติการณ์การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ; OR = 1.08
(95%CI 1.01, 1.17), พบระดับความสัมพันธ์ในการก่อให้เกิดร้อยละ 15 ของความสัมพันธ์ทั้งหมดในการเกิดระหว่างปัจจัยน้ำหนักของมารดาต่ออุบัติการณ์การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์.

สรุป : ภาวะการนอนกรนที่เกิดเมื่อตั้งครรภ์ มีส่วนในการก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยน้ำหนักของมารดาต่ออุบัติการณ์การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์
ในกลุ่มมารดาที่ไม่เคยนอนกรนหรือเป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน. จากผลการศึกษาสามารถแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะน้ำหนักเกินของมารดาและภาวะการนอนกรนที่เกิดเมื่อตั้งครรภ์
ต่ออุบัติการณ์การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์.