Hypertension Update
Long-term yogurt consumption and risk of incident hypertension in adults. 2896 View(s)
Long-term yogurt consumption and risk of incident hypertension in adults.

โดย Justin R. Buendia และคณะ
วารสารวิชาการ Journal of Hypertension 2018;36:1671-1679.

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคโยเกิร์ต , ชีส , นม , ผลิตภัณฑ์ประเภท total dairy กับภาวะความดันโลหิตสูง (high blood pressure; HBP) ในการศึกษา ได้แก่ Nurses' Health Study cohort (NHS, n = 69,298) , NHS II (n= 84,368) และ Health Professionals Follow-Up Study (HPFS, n= 30,512).

วิธีการศีกษา : การศึกษา NHS, NHS II และ HPFS ได้มีการติดตามการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เป็นระยะเวลา 30 , 20 และ 24 ปี ตามลำดับ. Hazard ratio จากการคำนวณ time-dependent mutivariate-adjusted Cox proportional hazards model. การประเมินความเสี่ยง (Pooled risk estimate) ได้จาก fixed effects meta-analyses.

ผลการศึกษา : ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต อย่างน้อย 5 serving ต่อสัปดาห์ (เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่บริโภคน้อยกว่า 1 serving ต่อเดือน)
ในการศึกษา NHS, NHS II และ HPFS พบการลดลงของความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง ร้อยละ 19 (95% CI 0.75-0.87) , ร้อยละ 17 (95% CI 0.77-0.90) , ร้อยละ 6 (95% CI 0.83-1.07) ตามลำดับ.

จาก pooled analyses ของการศึกษาเหล่านี้ พบว่า การบริโภคโยเกิร์ตที่มากขึ้น มีความสัมพันธ์กับการลดลงของความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง ร้อยละ 16 (95% CI 0.80-0.88).
การบริโภค total dairy ที่มากขึ้น (3 ถึง น้อยกว่า 6 เปรียบเทียบกับ น้อยกว่า 0.5 serving ต่อวัน) การบริโภคนม (milk) ที่มากขึ้น (2 ถึง น้อยกว่า 6 เปรียบเทียบกับ น้อยกว่า 4 serving ต่อวัน) และ การบริโภคชีส ที่มากขึ้น (1 ถึง 4 เปรียบเทียบกับ น้อยกว่า 1 serving ต่อวัน)
พบว่ามีความสัมพันธ์กับการลดลงของความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง ที่ร้อยละ 16 (95% CI 0.81-0.87) , ร้อยละ 12 (95% CI 0.86-0.90) และ ร้อยละ 6 (95% CI 0.90-0.97) ตามลำดับ.

ภายหลังจากการควบคุมปัจจัยดัชนีมวลกาย พบว่าการบริโภค total dairy , โยเกิร์ต , นม และชีส มีความสัมพันธ์กับการลดลงของความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูงที่ร้อยละ 13 , 10 , 8 และ 8 ตามลำดับ.

พบว่าการบริโภคโยเกิร์ตที่มากขึ้น ร่วมกับการบริโภคอาหารลดความดันประเภท DASH (Dietary Approaches to Stop Hypertension) ที่มากขึ้น มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูงได้ถึงร้อยละ 30 (95% CI 0.66-0.75) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับปัจจัยทั้งสองอย่างดังกล่าวในระดับต่ำที่สุด.

สรุป : การเพิ่มการบริโภคอาหาร total dairy โดยเฉพาะ โยเกิร์ต มีส่วนสัมพันธ์กับการลดลงของความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุวัยกลางคน และสูงอายุ ทั้งเพศชายและหญิง.

Credit picture : https://www.heartfoundation.org.au/healthy-eating/food-and-nutrition/dairy-foods