Whole blood omega-3 fatty acid concentrations are inversely associated with blood pressure in young, healthy adult
2894 View(s)
Whole blood omega-3 fatty acid concentrations are inversely associated with blood pressure in young, healthy adults.
โดย Mark G. Filipovic และคณะ
วารสารวิชาการ Journal of Hypertension 2018,36:1548-1554.
บทคัดย่อ
ที่มา : กรดไขมันโอเมก้าสาม Omega-3 fatty acid (n-3 FA) อาจมีผลในด้านการลดระดับความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงที่ยังไม่เคยได้รับการรักษา.แต่ผลของ n-3 FA ต่อความดันโลหิตในกลุ่มอายุน้อย ที่มีสุขภาพดี นั้นยังไม่มีข้อมูล. การประเมิน Omega-3 Index เป็นตัวช่วยบอกสภาวะของกรดไขมันโอเมก้าสามในแต่ละบุคคล. ผู้ทำการศึกษาได้ตั้งสมมติฐานว่า Omega-3 Index มีส่วนสัมพันธ์แบบผกผันกับระดับความดันโลหิตในกลุ่มผู้ใหญ่อายุน้อยที่มีสุขภาพดี (young healthy adults).
วิธีการศีกษา : การศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,036 คน แบบ cross-sectional study เป็นข้อมูลพื้นฐานในกลุ่มอายุ 25 ถึง 41 ปี. ภาวะที่ตัดออกได้แก่ การเป็นโรคหัวใจหลอดเลือด, โรคเบาหวาน , ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร. การประเมิน Omega-3 Index โดยใช้ gas chromatography ใน whole blood. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับความดันโลหิตประเภท office และ 24 ชั่วโมง ใช้ multivariable linear regression models ในการปรับปัจจัยรบกวน.
ผลการศึกษา : ค่ามัธยฐานของ Omega-3 Index เท่ากับร้อยละ 4.58 (interquartile range 4.08; 5.25). เมื่อทำการเปรียบเทียบแต่ละบุคคล ในกลุ่มที่ lowest quartile Omega-3 Index กับกลุ่ม highest มีค่าความดันซิสโตลิก และดัยแอสโตลิกที่ต่ำกว่าอยู่ที่ 4 และ 2 มิลลิเมตรปรอทตามลำดับ (ค่า P น้อยกว่า 0.01). พบค่าความสัมพันธ์ระหว่าง Omega-3 Index กับความดันโลหิตแบบ 24 ชั่วโมง และ Office BP แบบ linear inverse กันอย่างมีนัยสำคัญ.
พบว่า ต่อ 1-U เพิ่มขึ้นใน log-transformed Omega-3 Index ในการลดลงของระดับความดันโลหิต (multivariable adjusted Beta coefficients; 95% confidence interval) เท่ากับ -2.67 มิลลิเมตรปรอท (-4.83; -0.51; P=0.02) และ -2.30 มิลลิเมตรปรอท (-3.92; -0.68; P=0.005) สำหรับค่าความดันโลหิต 24 ชั่วโมง ซิสโตลิก และดัยแอสโตลิก ตามลำดับ.
สรุป : ค่า Omega-3 Index ที่สูง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญกับการลดลงของระดับความดันโลหิตซิสโตลิก และดัยแอสโตลิกในกลุ่มอายุไม่มากที่มีสุขภาพดี. ดังนั้น การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วย n-3FA อาจเป็นกลยุทธ์ในการป้องกันแบบปฐมภูมิของโรคความดันโลหิตสูงได้.
Credit picture : lifecenterthailand.wordpress.com/2017/08/08/omega-3-epa-และ-dha/