Intensive Blood Pressure Targets for Diabetic and Other High-Risk Populations
2895 View(s)
Intensive Blood Pressure Targets for Diabetic and Other High-Risk Populations.
A Pooled Individual Patient Data Analysis.
โดย Rahul Aggarwal และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2018;71:833-839.
บทคัดย่อ
เป้าหมายระดับความดันโลหิตที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มประชากรที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวาน ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนภายหลังจากที่มีความเห็นขัดแย้งกันในกรณีการควบคุมแบบเข้มงวด.
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาว่า เป้าหมายในการควบคุมระดับความดันโลหิตซิสโตลิกให้น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอทนั้นเป็นประโยชน์ในกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันหรือไม่. โดยศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 14,094 ราย จากการศึกษาแบบ randomized control จำนวน 2 การศึกษา ทำการจำแนกกลุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกประกอบด้วยผํู้ป่วยจำนวน 7,040 คน ให้ได้รับการควบคุมความดันโลหิตซิสโตลิกแบบเข้มงวดให้น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท และอีกกลุ่มประกอบด้วยผู้ป่วยจำนวน 7,054 คน ได้รับการควบคุมความดันโลหิตแแบบมาตรฐาน โดยควบคุมให้ความดันโลหิตซิสโตลิกน้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท โดยการศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์แบบ intention-to-treat analysis.
ผลการศึกษาชนิดปฐมภูมิ ได้แก่ composite ของ ภาวะแทรกซ้อนโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบเฉียบพลัน (myocardial infarction) หรือ acute coronary syndrome อื่นๆ , stroke , heart failure และการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจหลอดเลือด. โดยมีการประเมินลักษณะในภาวะพื้นฐาน และระหว่างการรักษา.
ผลการศีกษาชนิดทุติยภูมิ ได้แก่ nonfatal myocardial infarction , stroke , heart failure , cardiovascular mortality และ overall mortality.
ผลการศึกษา พบว่า การควบคุมความดันโลหิตแบบเข้มงวด นั้นสามารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผลแบบชนิดปฐมภูมิได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (hazard ratio, 0.83; 95% confidence interval, 0.74-0.92; P<0.001). ไม่พบความมีนัยสำคัญทางสถิติต่อผลของการรักษากับสภาวะการของเบาหวาน (P=0.16).
ยังพบอีกว่า การควบคุมแบบเข้มงวด ยังลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผลแบบชนิดทุติยภูมิได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย stroke (hazard ratio, 0.75; P=0.033) และ heart failure (hazard ratio, 0.76; P=0.014) โดยไม่พบการมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผลการรักษากับปัจจัยพื้นฐานด้านอายุ , เพศ , เชื้อชาติ , โรคประจำตัวด้านระบบหัวใจหลอดเลือด , ความดันโลหิตซิสโตลิก หรือดัยแอสโตลิก (P Values: 0.40, 0.95, 0.54, 0.18, 0.86, และ 0.67 ตามลำดับ).
การควบคุมความดันโลหิตแบบเข้มงวดที่ระดับความดันซิสโตลิกน้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท นั้นยังลดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจหลอดเลือด. ในผู้ป่วยกลุ่มเบาหวาน พบว่า มีการตอบสนองต่อผลการรักษานี้ไปในทางเดียวกัน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างในกลุ่มของ อายุ , เพศ , ประวัติโรคหัวใจหลอดเลือด
, ความดันโลหิตพื้นฐาน และเชื้อชาติ.
ในกลุ่มที่ได้รับการควบคุมแบบเข้มงวดนั้น พบว่ามีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาที่มากกว่า (ร้อยละ 3.97 และ 1.53; P < 0.001).
สรุป แพทย์ควรพิจารณาการควบคุมความดันโลหิตแบบเข้มงวด โดยมีเป้าหมายความดันโลหิตซิสโตลิกที่น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท ในผู้ป่วยหลากหลายกลุ่ม รวมทั้งผู้ป่วยในกลุ่มเบาหวานด้วย.
Credit picture: https://unews.utah.edu/intensive-blood-pressure-control-could-prevent-100000-deaths-each-year/